บทความวิชาการ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลางแจ้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอนุบาล 3 ขวบบ้านสามเส้า อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
รัชดาพร อัครจักร*
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรมีการจัดที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา การพัฒนาในแต่ละด้านจึงเริ่มต้นจากการพัฒนา กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก โดยผ่านกิจกรรมกลางแจ้ง ซึ่งกิจกรรมกล้างแจ้งจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรงและมีความคล่องแคล่วเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาในด้านต่างๆต่อไปจึงจัดกิจรรมโดยผ่านการเล่นที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย มีสุขนิสัยที่ดีใช้กล้ามเนื้อมือมัดใหญ่กล้ามเนื้อมัดเล็กได้คล่องแคล่วและประสาทสัมพันธ์กันและมีสุขภาพจิตดีมีความสุขนำไปสู่การทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดกิจกรรมในการเรียนของเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเด็กในวัยนี้การเล่นถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตของเด็กทุกคน เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต คิดแก้ไขปัญหา การเล่นกิจกรรมกลางแจ้งจะมีผลต่อการเจริญเติบโต ช่วยพัฒนาร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา การเล่นเด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ได้ใช้ประสาทสัมผัสของอวัยวะต่างๆ การับรู้ การผ่อนคลายอารมณ์ การได้แสดงออกถึงตนเอง เรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่นการเล่นจึงเป็นทางที่เด็กๆได้สร้างประสบการณ์ของเด็ก สำหรับประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาด้านร่างกายนั้น จะเน้นที่การทรงตัวและประสาทสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์และการเล่นเครื่องเล่นสนาม( กระทรวงศึกษาธิการ,2547 : อ้าวถึงใน กุลยาตันติผลาชีวะ,2547 : 68 กิจกรรมกลางแจ้งจึงเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่เพราะการเล่นกลางแจ้งเปิดโอกาสให้ด็กทำจกรรมเพื่อพัฒนาร่างกาย ได้สำรจค้นหาและเรียนรู้ ดังที่ เบเกอร์ (Baker , 1968 อ้างถึงใน. นิตยา ประพฤติกิจ, 2539 : 78 ) " เด็กที่มีสุขภาพดีมักชอบเล่นกลางแจ้งเพราะเขาได้เล่นอย่างสนุกสนาน ร่าเริ่งและสร้างสรรค์ เมื่อเด็กเข้าสู่วัย 2-4 พัฒนาการด้านร่างกายจะปราฎในรูปของความสามรถในการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายได้ชัดเจนขึ้นทั้งความสามารถในการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อใหญ่และการทำงานของกล้ามเนื้อเล็ก ( นภเนตร ธรรมบวร, 2544 : 73) นอกจากนี้ทฤษฎีของกีเซลเชื่อว่า การพัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและขั้นตอนเด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้ประสาทสัมพันธ์มือกับตา จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม และเชื่อมโยงกับทฤษฎีของเฟรอเบลเชื่อว่า ควรส่งเสริมกิจกรรมตามธรรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
บทบาทของครูผู้สอนกิจกรรมกลางแจ้ง ขณะดำเนินกิจกรรมกลางแจ้ง ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง กติกาในการเล่น เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมและอยู่ในความปลอดภัยขณะที่เด็กเล่นกิจกรรมครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัยของเด็กคอยสังเกตพฤติกรรมการเล่นและให้คำชี้แนะในกรณีเด็กเล่นไม่ถูกต้องเสร็จกิจกรรมครูให้เด็กเก็บของเล่นให้เรียบร้อยหลังจากเลิกเล่นและให้เด็กทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย
...............................................
*นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต โครงการร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เอกสารอ้างอิง
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็ก.
ปฐมวัย.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
ฐิติมา ชัยสมุทร และนิตยา ประพฤติกิจ. (2556). ผลของการใช้กิจกรรม
การเล่นกลางแจ้งที่มีต่อความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็ก
ปฐมวัย. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
นภเนตร ธรรมบวร. (2544). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รัชดาพร อัครจักร*
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรมีการจัดที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา การพัฒนาในแต่ละด้านจึงเริ่มต้นจากการพัฒนา กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก โดยผ่านกิจกรรมกลางแจ้ง ซึ่งกิจกรรมกล้างแจ้งจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรงและมีความคล่องแคล่วเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาในด้านต่างๆต่อไปจึงจัดกิจรรมโดยผ่านการเล่นที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย มีสุขนิสัยที่ดีใช้กล้ามเนื้อมือมัดใหญ่กล้ามเนื้อมัดเล็กได้คล่องแคล่วและประสาทสัมพันธ์กันและมีสุขภาพจิตดีมีความสุขนำไปสู่การทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดกิจกรรมในการเรียนของเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเด็กในวัยนี้การเล่นถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตของเด็กทุกคน เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต คิดแก้ไขปัญหา การเล่นกิจกรรมกลางแจ้งจะมีผลต่อการเจริญเติบโต ช่วยพัฒนาร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา การเล่นเด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ได้ใช้ประสาทสัมผัสของอวัยวะต่างๆ การับรู้ การผ่อนคลายอารมณ์ การได้แสดงออกถึงตนเอง เรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่นการเล่นจึงเป็นทางที่เด็กๆได้สร้างประสบการณ์ของเด็ก สำหรับประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาด้านร่างกายนั้น จะเน้นที่การทรงตัวและประสาทสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์และการเล่นเครื่องเล่นสนาม( กระทรวงศึกษาธิการ,2547 : อ้าวถึงใน กุลยาตันติผลาชีวะ,2547 : 68 กิจกรรมกลางแจ้งจึงเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่เพราะการเล่นกลางแจ้งเปิดโอกาสให้ด็กทำจกรรมเพื่อพัฒนาร่างกาย ได้สำรจค้นหาและเรียนรู้ ดังที่ เบเกอร์ (Baker , 1968 อ้างถึงใน. นิตยา ประพฤติกิจ, 2539 : 78 ) " เด็กที่มีสุขภาพดีมักชอบเล่นกลางแจ้งเพราะเขาได้เล่นอย่างสนุกสนาน ร่าเริ่งและสร้างสรรค์ เมื่อเด็กเข้าสู่วัย 2-4 พัฒนาการด้านร่างกายจะปราฎในรูปของความสามรถในการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายได้ชัดเจนขึ้นทั้งความสามารถในการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อใหญ่และการทำงานของกล้ามเนื้อเล็ก ( นภเนตร ธรรมบวร, 2544 : 73) นอกจากนี้ทฤษฎีของกีเซลเชื่อว่า การพัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและขั้นตอนเด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้ประสาทสัมพันธ์มือกับตา จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม และเชื่อมโยงกับทฤษฎีของเฟรอเบลเชื่อว่า ควรส่งเสริมกิจกรรมตามธรรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
บทบาทของครูผู้สอนกิจกรรมกลางแจ้ง ขณะดำเนินกิจกรรมกลางแจ้ง ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง กติกาในการเล่น เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมและอยู่ในความปลอดภัยขณะที่เด็กเล่นกิจกรรมครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัยของเด็กคอยสังเกตพฤติกรรมการเล่นและให้คำชี้แนะในกรณีเด็กเล่นไม่ถูกต้องเสร็จกิจกรรมครูให้เด็กเก็บของเล่นให้เรียบร้อยหลังจากเลิกเล่นและให้เด็กทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย
...............................................
*นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต โครงการร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เอกสารอ้างอิง
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็ก.
ปฐมวัย.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
ฐิติมา ชัยสมุทร และนิตยา ประพฤติกิจ. (2556). ผลของการใช้กิจกรรม
การเล่นกลางแจ้งที่มีต่อความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็ก
ปฐมวัย. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
นภเนตร ธรรมบวร. (2544). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย