การปฏิบัติการสอนใน ศพด......... ภาคเรียนที่ 1/61 v.10

แผนการสอนหน่วยอยู่ดีกินดีมีสุข

  • แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การศึกษาปฐมวัย อายุ 3 ปี

    สัปดาห์ที่ 5 สาระการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

    หน่วยการเรียนรู้ กินดี อยู่ดี มีสุข

     ความคิดรวบยอด

              อาหารมีมากมายหลายชนิด การเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง นอกจากนั้นแล้วเด็กควรเรียนรู้การทำความสะอาดอวัยวะ และร่างกาย การมีสุขนิสัยที่ดีในการขับถ่าย จึงจะทำให้เด็กเป็นผู้มีสุขภาพดีอย่างแท้จริง

     

    อาหารทำให้ร่างกายเจริญเติบโต

    อาหารดีมีประโยชน์

     

    การใช้ห้องน้ำห้องส้วมที่ถูกต้อง

               
       
         
         
     

     

     

     


                                                                                                                    

                                                                                                                                               

    การแปรงฟัน

     

    การล้างมือ

     

                                                                            

                   
         
       
         
           
     
     

     

     

     

     


    การแปรงฟันที่ถูกวิธี

                                                                      ประโยชน์ของการล้างมือ    การล้างมือที่ถูกต้อง

                อุปกรณ์ในการแปรงฟัน                                                                      

     

     

     

     

    สิ่งที่เด็กรู้แล้ว

    สิ่งที่เด็กต้องการรู้

    สิ่งที่เด็กควรรู้

    1.  อาหารทำให้ร่างกายแข็งแรง

    2.  ตื่นนอนตอนเช้าต้องแปรงฟัน

    3.  ถ้าไม่ล้างมือจะทำให้มีเชื้อโรค

    4.  .ก่อนออกจากห้องนำ้ห้องส้วมต้องล้างมือให้สะอาด

    5.  ต้องปิดน้ำทุกครั้งเวลาเปิดก๊อกน้ำล้างมือ

    1.   ทำไมต้องรับประทานอาหาร

    2.   ประโยชน์ของการล้างมือและการทำความสะอาดมือที่ถูกวิธี

    3.   การแปรงฟัน

    4.   การแปรงฟันที่ถูกวิธี

    5.   การใช้ห้องนำ้ห้องส้วมที่ถูกต้อง

    1.  อาหารดีมีประโยชน์

    2.  การทำความสะอาดมือ

    3.  สุขนิสัยในการขับถ่าย

    4.  การทำความสะอาดปาก/ฟัน

    5.  การทำความสะอาดร่างกาย

     

     

    การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การศึกษาปฐมวัย อายุ 3 ปี

    สัปดาห์ที่ 5 สาระการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

     

    หน่วยการเรียนรู้ กินดี อยู่ดี มีสุข กิจกรรม

    วันที่

    เคลื่อนไหวและจังหวะ

    เสริมประสบการณ์

    สร้างสรรค์

    เสรี

    กลางแจ้ง

    เกมการศึกษา

     

    สอนวันที่ 1

    -เคลื่อนไหวร่างกายประกอบคาบรรยายเก็บไข่ตามจินตนา

    -การนับเรียง

    ลาดับ 1-5

    -ชื่ออาหารที่มีประโยชน์

    -พยัญชนะ

    ก – ฮ

    -นิทานเรื่องกุ๊กกิ๊กไม่สบาย

    -การปั้นดินน้ามัน

    -การระบายสีภาพอาหารดีมี

    ประโยชน์

    -เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่น

    ในศูนย์ตามความสนใจและค้นหาความถนัดของตนโดยจัดให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

    -เกมส่งลูกบอล

    -จับคู่ภาพเหมือน

    อาหารดี

    มีประโยชน์

     

    สอนวันที่ 2

    -ทาท่าทางเลียนแบบการกระทาต่างๆ

    -ความสาคัญของการรับประทานอาหาร

    -เพลงอาหารนม

    -การตัดกระดาษ

    -การวาดวงกลมตามแบบ

    -เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่น

    ในศูนย์ตามความสนใจและค้นหาความถนัดของตนโดยจัดให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

    -เกมมอญซ่อนผ้า

    -เกมจับคู่ภาพความสัมพันธ์

     

    สอนวันที่ 3

    -การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์ริบบิ้น

    -การร้องเพลงและทาท่าทางประกอบเพลงล้างมือก่อนซิ

    -การล้างและทาความสะอาดมือ

    -เพลงล้างมือ 7 ขั้นตอน

    -การพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือ

    -การร้อยลูกปัด

    -เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่น

    ในศูนย์ตามความสนใจและค้นหาความถนัดของตนโดยจัดให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

    -การเล่นเครื่องเล่นสนามอย่างอิสระ

    -เกมภาพตัดต่อภาพการล้างมือ

    -เกมเก่าที่เคยเล่นมาแล้ว

     

    สอนวันที่ 4

    -การปฏิบัติตามสัญญาณและข้อตกลง

    -การแปรงฟันที่ถูกวิธี

    -ตัวอักษร

    A – Z

    -เพลงแปรงฟัน

    -การหยดสีบนกระดาษเปียก

    -การฉีกปะกระดาษภาพแปรงสีฟัน

    -เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่น

    ในศูนย์ตามความสนใจและค้นหาความถนัดของตนโดยจัดให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

    -เกมเก็บของใส่ตะกร้า

    -เกมเรียงลาดับภาพอุปกรณ์การแปรงฟันขนาดจากเล็กไปหาใหญ่

    เกมที่เคยเล่นมาแล้ว

     

    สอนวันที่ 5

    -การปฏิบัติตามสัญญาณและข้อตกลง

    -การเป็นผู้นา

    ผู้ตาม

    -เพลงสมัยนิยม

    -สุขนิสัยที่ดีในการขับถ่าย

    -คาศัพท์ HAPPY

    -นิทานเรื่อง บทเรียนของน้องเกม

    -เพลง ล้างมือ

    -การปั้นดินน้ามัน

    -การระบายสี

    -ภาพเด็กใช้ห้องน้า-ห้องส้วม

    -เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่น

    ในศูนย์ตามความสนใจและค้นหาความถนัดของตนโดยจัดให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

    -การวิ่ง

    ซิกแซก

    -เกมจับคู่ภาพเหมือนอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องน้า -ห้องส้วม

     

     

     

     

     

     

     

    แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

    สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 1 สาระการเรียนรู้ย่อย อาหารดีมีประโยชน์

    1. ชื่อกิจกรรม เคลื่อนไหวและจังหวะ
    2. จุดประสงค์การเรียนรู้

    1) ฟังและปฏิบัติตามสัญญาณและข้อตกลงได้ 2) ทำท่าทางประกอบคำบรรยายตามจินตนาการได้

    3) มีความสนใจในการออกกำลังกาย 4) นับเลข 1 – 5 ได้

    1. สาระการเรียนรู้

    สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สาคัญ

    1) การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย 1) การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

    2) การปฏิบัติตามสัญญาณและข้อตกลง 2) การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่

    3) การนับเรียงลาดับจานวน 1-5 3) การนับและแสดงจานวนของสิ่งต่างๆใน

    ชีวิตประจาวัน

    1. วิธีการจัดกิจกรรม

    ขั้นนำ

                1) เด็กเคลื่อนไหวร่างกายไปรอบๆบริเวณอย่างอิสระตามจังหวะฉิ่ง โดยไม่ชนกัน เมื่อได้ยินสัญญาณหยุด ให้เด็กหยุดเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที

                ขั้นสอน

    2) ครูสร้างข้อตกลงแก่เด็กโดยให้เด็กทำท่าทางตามคำบรรยาย

    3) ขออาสาสมัคร 1 คนทำท่าทางตามคำบรรยายให้เพื่อนๆดู

    4) เด็กทำท่าทางตามจินตนาการตามคำบรรยายดังนี้ “ในตอนเช้าหลังจากที่เด็กตื่นนอน คุณแม่บอกให้

    เด็กไปเก็บไข่ในเล้า เด็กๆ หิ้วตะกร้าคนละ 1 ใบไปที่เล้าไก่ เด็กๆเก็บไข่ใส่ตะกร้าพร้อมพูดว่า ไข่ฟอง ที่ 1 ไข่ฟองที่ 2 ไข่ฟองที่ 3 ไข่ฟองที่ 4และไข่ฟองที่ 5 เสร็จแล้วเด็กๆหิ้วตะกร้าไปหาคุณแม่ แล้วแม่

    กับลูกเอาไข่ออกจากตะกร้าทีละฟอง พร้อมกับช่วยกันนับ 1,2,3,4,5 ”

    5) เมื่อทำท่าทางเสร็จ  ให้เด็กๆช่วยกันนับไข่อีกครั้งครูตั้งคำถามเช่น ไข่ที่เด็กๆนับรวมทั้งหมดได้กี่ฟอง แม่กับลูกไปเก็บไข่มาจากไหน  และใช้อะไรในการใส่ไข่ (เด็กช่วยกันตอบ)

     ขั้นสรุป

    6) เด็กและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับไข่ที่เก็บใส่ตระกร้ามีทั้งหมด ห้าฟอง ภาชนะที่นำใส่ไข่คือตระกร้า และเด็กนั่งพักผ่อน 3 – 5 นาที

    1. สื่อและแหล่งการเรียนรู้

                    1) ฉิ่ง

                    2) คำบรรยาย

    1. การประเมินผล

                1) สังเกตการฟัง การปฏิบัติตามสัญญาณและข้อตกลง

                    2) สังเกตการทาท่าทางประกอบคาบรรยายตามจินตนาการได้

                    3) สังเกตความสนใจในการออกกาลังกาย

                    4) สังเกตการนับเรียงลำดับ 1 – 5

    แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

    สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 1 สาระการเรียนรู้ย่อย อาหารดีมีประโยชน์

    1. ชื่อกิจกรรม เสริมประสบการณ์

    ความคิดรวบยอด

    อาหารคือสิ่งที่เรารับประทานได้ และไม่เป็นพิษต่อรางกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต

    และแข็งแรง

    1. จุดประสงค์การเรียนรู้

                    1) บอกชื่ออาหารที่มีประโยชน์ได้อย่างน้อย 2 ชนิด 2) ร่วมสนทนากับครูและเพื่อนได้

                    3) ท่องพยัญชนะ ก – ฮ ได้

    สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สาคัญ

    1) ชื่ออาหารที่มีประโยชน์ 1) การพูดแสดงความรู้สึกและความต้องการ

    2) พยัญชนะ ก – ฮ 2) การฟังนิทานเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม

    3) นิทานกุ๊กกิ๊กไม่สบาย

    1. วิธีการจัดกิจกรรม

    ขั้นนำ

    1) เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง “อาหารที่เรารับประทานต้องดีและมีประโยชน์ คืออาหารหลักห้าหมู่ เอย พร้อมท่าทางประกอบด้วยการปรบมือ ตบตัก ตบไหล่

    ขั้นสอน

    2) ครูอธิบายกับเด็กโดยให้ เด็กท่องพยัญชนะ ก – ฮ พร้อมๆ กัน แล้วเปลี่ยนเป็นเด็กหญิงท่อง ก ไก่ เด็กชายท่อง ข ไข่ สลับกัน ไปเรื่อยๆ

    3) เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงอาหารที่เด็กแต่ละคนรับประทานก่อนมาโรงเรียน จากนั้นให้เด็กแต่ละ คนบอกชื่ออาหารที่เคยรับประทานมา อย่างน้อยคนละ 2 ชนิด

    4) เด็กฟังนิทานเรื่อง “กุ๊กกิ๊กไม่สบาย” เมื่อฟังจบแล้วครูถามคำถามให้เด็กคิดหาคำตอบจากเรื่องที่ฟัง

    เช่น ทำไมกุ๊กกิ๊กจึงผอม , การไม่สบายบ่อยๆ ดีหรือไม่ เพราะเหตุใด , การเลือกรับประทานอาหารดี

    หรือไม่ เพราะเหตุใด

    5) เด็กและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารดีมีประโยชน์ ที่จะช่วยทำให้ร่างกายของเด็ก เจริญเติบโตและแข็งแรง

    ขั้นสรุป

    6) เด็กและครูร่วมกันทบทวนการท่องพยัญชนะ ก – ฮ อีกครั้ง และบอกชื่อพยัญชนะตามบัตรภาพที่ครูชูอีกครั้ง

    1. สื่อและแหล่งการเรียนรู้

    1) นิทานเรื่องกุ๊กกิ๊กไม่สบาย

    2) บัตรภาพ บัตรคำ พยัญชนะ ก – ฮ

    1. การประเมินผล

    1) สังเกตการบอกชื่ออาหารที่มีประโยชน์ของเด็ก

    2) สังเกตการร่วมสนทนากับครูและเพื่อน

    3) สังเกตการท่องพยัญชนะ ก – ฮ

     

    แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

    สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 1 สาระการเรียนรู้ย่อย อาหารดีมีประโยชน์

    1. ชื่อกิจกรรม สร้างสรรค์
    2. จุดประสงค์การเรียนรู้
      • บอกชื่อหรือเล่าเกี่ยวกับผลงานของตนเองได้
      • มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
    1. สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สาคัญ

    1) การปั้นดินน้ามัน 1) การทากิจกรรมศิลปะต่างๆ

    2) การระบายสีภาพอาหารดีมีประโยชน์ 2) การปั้น

    1. วิธีการจัดกิจกรรม

                ขั้นนำ

    1) ครูจัดเตรียมกิจกรรมไว้ 2 กิจกรรม คือ การปั้นดินน้ามันและการระบายสีภาพ

                ขั้นสอน

    2) ครูแนะนำอุปกรณ์ วิธีการปฏิบัติและทบทวนข้อตกลงในการปฏิบัติกิจกรรมการปั้นดินน้ามันและ การระบายสีภาพ

    2.1 การปั้นดินน้ามัน

                   -ครูแนะนำอุปกรณ์ในการปั้นดินน้ามัน

                   -ครูนำดินน้ามันมาสาธิต การนวด การคลึง และการบีบ จนดินน้ามันนิ่ม

                   -เด็กปั้นดินน้ามันเป็นรูปทรง รูปร่างตามจินตนาการของตนเอง

    2.2 การระบายสีภาพ

                                    - ครูแนะนำอุปกรณ์ในการระบายสีภาพ

                   - ครูนำใบงานรูปภาพอาหารดีมีประโยชน์ให้เด็กๆดู

                   - ครูสาธิตการจับดินสอสี การระบายสีภาพให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง

    3) เด็กเลือกปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ แล้วนำผลงานมาบอกชื่อและเล่าเรื่องให้ครูจดบันทึก

    4) ให้อาสาสมัครเลือกผลงานของตนเองระหว่างการปั้นดินน้ามันและการระบายสีภาพมาเล่าให้เพื่อนฟัง

    5) เมื่อหมดเวลาเด็กทุกคนช่วยกันจัดเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

                ขั้นสรุป

                6) เด็กและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองนำเสนอทุกคนสร้างสรรผลงานได้ดีมากและให้ช่วยกันปรบมือให้กำลังใจตนเอง

    1. สื่อและแหล่งการเรียนรู้

    1) ดินน้ามัน 2) แผ่นรองปั้นดินน้ามัน

    3) ใบงานภาพอาหารดีมีประโยชน์ 4) สีเทียนหรือสีไม้

    1. การประเมินผล
    • สังเกตความสนใจและมีความสุขขณะทางานศิลปะ
    • สังเกตการบอกชื่อหรือเล่าเกี่ยวกับผลงานของเด็ก

       3) สังเกตความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของเด็ก

    แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

    สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 1 สาระการเรียนรู้ย่อย อาหารดีมีประโยชน์

    1. ชื่อกิจกรรม เสรี
    2. จุดประสงค์การเรียนรู้

                    1) สังเกต สารวจ ทดลอง ค้นคว้า คิดแก้ปัญหาในการทางานและการเล่นเป็นกลุ่ม

                    2) มีประสบการณ์ตรงในการใช้ภาษา มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ต่องานและสิ่งที่ตนเล่น

                    3) มีวินัย ความรับผิดชอบ มีมารยาท ช่วยเหลือ แบ่งปัน อดทนรอคอยและมีจิตสาธารณะ

                    4) มีพัฒนาการทาง ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาอย่างสมดุลรอบด้าน

    1. สาระการเรียนรู้

    สาระที่ควรเรียนรู้

                    -การเล่นตามศูนย์เป็นการเล่นในศูนย์ประสบการณ์ต่าง ๆ อย่างอิสระผ่านการเล่น ทดลอง คิดค้น คว้าสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาและการแสวงหาคาตอบ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความคิด จินตนาการ ภาษาควบคู่ ไปกับความมีวินัย ความรับผิดชอบ การรอคอย การแบ่งปัน การใฝุรู้และการอยู่ร่วมกันเพื่อพัฒนาการเข้า สู่สังคม

    ประสบการณ์สาคัญ

                    1) การเล่นเครื่องเล่นสัมผัสและการสร้างสิ่งต่างๆจากแท่งไม้ บล็อก

                    2) การต่อของชิ้นเล็กเติมในชิ้นใหญ่ให้สมบูรณ์และการแยกชิ้นส่วน

                    3) การเล่นและการทางานร่วมกับผู้อื่น

                    4) การรับรู้ แสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและชิ้นงาน

                    5) การเล่นตามมุมประสบการณ์/มุมเล่นต่างๆ

                    6) การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้รูปร่าง รูปทรงจากวัสดุที่หลากหลาย

    1. วิธีการจัดกิจกรรม

                ขั้นนำ

                    1) ครูแนะนำการเล่นการปฏิบัติตนในการเล่นศูนย์กิจกรรมเสรีตามข้อตกลง

                    2) เด็กเลือกเล่นศูนย์กิจกรรมเสรีตามความสนใจ

                    ขั้นสอน

                    3) ครูให้คำแนะนำ กระตุ้น ส่งเสริม ให้คำชมเชยเพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาอย่างสมดุลรอบด้านเต็ม ตามศักยภาพ

                    4) ให้เด็กเล่นอย่างอิสระหลังจากเลิกเล่นให้เด็กทำความสะอาดอุปกรณ์ พร้อมกับเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย

                ขั้นสรุป

                5)  เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมที่ทำในวันนี้และครูถามมีใครไม่เก็บของเล่นและอุปกรณ์ช่วยเพื่อนไหม  พร้อมสรุปเมื่อเล่นเสร็จเราต้องช่วยกันจัดเก็บและทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้ง

    1. สื่อและแหล่งการเรียนรู้

                    -อุปกรณ์ต่างๆ ที่จัดไว้ตามศูนย์กิจกรรมเสรี ต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับหน่วยการเรียนรู้

    1. การประเมินผล

                    1) สังเกตพฤติกรรมการสำรวจ ทดลอง ค้นคว้า คิดแก้ปัญหาในการทางานและการเล่นเป็นกลุ่ม

                    2) สังเกตการใช้ภาษา ตรวจผลงานการปฏิบัติกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ ต่องานและสิ่งที่เล่น

                    3) สังเกตความมีวินัย ความรับผิดชอบ มารยาท การช่วยเหลือ แบ่งปัน อดทนรอคอยและ มีจิตสาธารณะ

    4) สังเกตความก้าวหน้าของพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

    แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

    สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 1 สาระการเรียนรู้ย่อย อาหารดีมีประโยชน์

    1. ชื่อกิจกรรม กลางแจ้ง
    2. จุดประสงค์การเรียนรู้

                    1) สนใจการเล่นและการออกำลังกาย

                    2) ปฏิบัติตามข้อตกลงง่ายๆ ได้

                    3) เล่นเกมส่งลูกบอลร่วมกับผู้อื่นได้

    1. สาระการเรียนรู้

    สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ -เกมส่งลูกบอล

                1) การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์

                    2) การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

                    3) การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่

    1. วิธีการจัดกิจกรรม

                ขั้นนำ

                    1) เด็กและครูสนทนาถึงข้อตกลงในการปฏิบัติกิจกรรมเมื่อลงไปถึงที่สนาม

                    2) เด็กเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยการให้หาพื้นที่ของตนเอง เช่น การเดิน การกระโดด การวิ่ง และการคลาน

                    3) เด็กนั่งเป็นวงกลมขนาดใหญ่ มีเด็กหนึ่งคน ถือลูกบอลในมือ

                    ขั้นสอน

                    4) ครูแนะนำเกมส่งลูกบอล และกติกาการเล่นให้เด็กรู้จัก พร้อมสาธิตวิธีการส่งลูกบอลไปให้เพื่อนคนที่นั่งข้างๆ โดยจะส่งลูกบอลทางด้านซ้ายมือ หรือขวามือก็ได้ พร้อมร้องเพลงปรบมือไปด้วย เมื่อครูเปุานกหวีด เด็กหยุดส่งลูกบอล และลูกบอลอยู่ที่มือใครให้คน นั้นลุกขึ้นยืนและบอกชื่ออาหารดีมีประโยชน์มา 1 ชนิด

                    5) เด็กเริ่มเล่นเกมตามข้อ 2 ไปเรื่อย ๆ ขณะเด็กเล่นเกมครูคอยแนะนาและคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

                    6) เมื่อสัญญาณหมดเวลา เด็กพักคลายกล้ามเนื้อขา โดยนั่งเหยียดขาตามสบาย หายใจลึกๆ แล้วช่วยกัน เก็บอุปกรณ์การเล่นเกมเข้าที่ให้เรียบร้อย

                ขั้นสรุป

                7)  เด็กและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับเกมการเล่นส่งลูกบอล ทุกคนต้องทำตามกติกาในการเล่นน และร่วมบอกชื่ออาหารที่มีประโยชน์ที่พวกเราช่วยกันเอ่ยชื่อมีอะไรบ้าง

    1. สื่อและแหล่งการเรียนรู้

                    1) เกมส่งลูกบอล

                    2) ลูกบอล

                    3) นกหวีด

    1. การประเมินผล

                    1) สังเกตการเล่นและการออกกาลังกาย

                    2) สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงง่าย ๆ

                    3) สังเกตการเล่นเกมส่งลูกบอลร่วมกับผู้อื่น

    แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

    สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 1 สาระการเรียนรู้ย่อย อาหารดีมีประโยชน์

    1. ชื่อกิจกรรม เกมการศึกษา
    2. จุดประสงค์การเรียนรู้

    1) สังเกตและจับคู่ภาพเหมือนอาหารที่มีประโยชน์ได้

    2) เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างได้

    3) เก็บของเล่นเข้าที่ได้

    1. สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สาคัญ

     -เกมจับคู่ภาพเหมือนอาหารดีมีประโยชน์

                    1) การสังเกตสิ่งต่างๆโดยใช้ประสาทสัมผัส ด้วยการมองอย่างเหมาะสม

    1. วิธีการจัดกิจกรรม

                ขั้นนำ

                 1) เด็กและครูร่วมกันทำท่าทางประกอบเพลง ผักๆ (ปรบมือ) ข้าวๆ (ตบตัก) ผลไม้ๆ (ตบไหล่) รับประทานแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายเอย พร้อมทำท่าทางประกอบ

                ขั้นสอน

                  3) ครูแนะนำอุปกรณ์ พร้อมทั้งสาธิตวิธีการเล่นเกมจับคู่ภาพเหมือนอาหารดีมีประโยชน์

    4) แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 – 4 คน โดยให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันสังเกและจับคู่ภาพ เหมือนอาหารดีมีประโยชน์ เช่น ผัก ข้าว ผลไม้ เนื้อสัตว์ กลุ่มไหนจับคู่ภาพเหมือนได้ครบก่อน เป็นผู้ชนะ

    5) เด็กเล่นเกมจับคู่ภาพเหมือนแข่งกันอีกครั้ง

    6) ขณะเด็กเล่นเกมครูคอยแนะนาและคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

    7) เมื่อสัญญาณหมดเวลา เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์การเล่นเกมเข้าที่ให้เรียบร้อย

     ขั้นสรุป

                8) เด็กและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการเล่นเกมจับคู่ภาพเหมือนอาหารดีมีประโยชน์อีกครั้งเมื่อเล่นเสร็จทุกครั้งต้องช่วยกันเก็บ

    1. สื่อและแหล่งการเรียนรู้

                    -เกมจับคู่ภาพเหมือนอาหารดีมีประโยชน์

    1. การประเมินผล

    1) สังเกตการจับคู่ภาพเหมือนอาหารดีมีประโยชน์

    2) สังเกตการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างในการจับคู่ภาพ

    3) สังเกตการเก็บของเล่นเข้าที่ของเด็ก

    แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

    สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 2 สาระการเรียนรู้ย่อย ความสาคัญของการรับประทานอาหาร

    1. ชื่อกิจกรรม เคลื่อนไหวและจังหวะ
    2. จุดประสงค์การเรียนรู้

    1) ฟังและปฏิบัติตามสัญญาณและข้อตกลงได้

    2) ทาท่าทางเลียนแบบการกระทาต่างๆได้

    3) มีความสนใจในการออกกาลังกาย

    1. สาระการเรียนรู้

    สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สาคัญ

    1) การทาท่าทางเลียนแบบการกระทา 1) การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

    2) การปฏิบัติตามสัญญาณและข้อตกลง 2) การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่

    3) การเล่นบทบาทสมมติ

    1. วิธีการจัดกิจกรรม

                ขั้นนำ

    1) เด็กเคลื่อนไหวร่างกายพื้นฐานโดยการให้หาพื้นที่ของตนเอง เช่น การเดิน การกระโดด การวิ่ง และการคลานไปรอบๆ บริเวณอย่างอิสระตามจังหวะที่ครูเคาะโดยไม่ชนกัน เมื่อได้ยินสัญญาณหยุด ให้เด็กหยุดเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที

    ขั้นสอน

    2)  ครูอธิบายขั้นตอนปฏิบัติในการทำกิจกรรม และให้ เด็กเคลื่อนไหวร่างกายไปทั่ว ๆ บริเวณอย่างอิสระตามจังหวะที่ครูเคาะ เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้เด็ก ฟังปฏิบัติการเลียนแบบท่าทางต่างๆ ตามที่ครูบอก เช่น ท่าคนสับหมูสับ ท่าดื่มนม ท่าคนตีกอล์ฟ ท่าคนนอนหลับคนว่ายน้า คนวิ่งหนีเสือ ฯลฯ

    3) เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้บอกให้เพื่อนๆ ทำท่าทางตามตนเอง

    ขั้นสรุป

    4) เมื่อสัญญาณหมดเวลา ให้เด็กนั่งพักผ่อนอิริยาบถ 3 – 5 นาที ครูอธิบายเพิ่มเติมการรับประทานอาหารและการออกกำลังเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

     

    1. สื่อและแหล่งการเรียนรู้

    1) เครื่องเคาะจังหวะ

    2) ท่าทางการกระทำต่างๆ

    1. การประเมินผล

    1) สังเกตการฟัง การปฏิบัติตามสัญญาณและข้อตกลง

    2) สังเกตการทาท่าทางเลียนแบบการกระทาต่างๆ

    3) สังเกตความสนใจในการออกกาลังกาย

     

     

     

    แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

    สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 2 สาระการเรียนรู้ย่อย ความสาคัญของการรับประทานอาหาร

    1. ชื่อกิจกรรม เสริมประสบการณ์

    ความคิดรวบยอด

                    เด็กวัยนี้เป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโต จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ผู้ปกครอง

    หรือผู้ดูแลเด็ก จึงควรเห็นความสาคัญของการรับประทานอาหาร และต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี เกี่ยวกับการสร้างนิสัยการรับประทานอาหารและการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่เด็ก

    1. จุดประสงค์การเรียนรู้

    1) บอกความสาคัญของการรับประทานอาหารได้ 2) ร่วมสนทนากับครูและเพื่อนได้

    3) ร้องเพลงอาหารนมและทำท่าทางประกอบได้ 4) เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

    1. สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สาคัญ
    • ความสำคัญของการรับประทานอาหาร 1) การพูด แสดงความคิดความรู้สึกและความต้องการ
    • เพลงอาหารนม 2) การฟังและการปฏิบัติตามคำแนะนา
    1. วิธีการจัดกิจกรรม

    ขั้นนำ

    1) เด็กและครูร่วมกันร้องเพลงอาหารนมตามแผนภูมิเพลง โดยขั้นแรกครูร้องเพลงทีละประโยค ให้เด็กร้องตาม เมื่อเด็กร้องได้คล่องแล้วครูและเด็กร้องพร้อมกัน พร้อมกับปรบมือเป็นจังหวะไปด้วย

    2) เด็กและครูร่วมกันคิดท่าทางประกอบเพลงอาหารนม โดยร้องเพลงและทาท่าทางตามจินตนาการ ของตนเอง

    ขั้นสอน

    3) ครูนำภาพความสำคัญของการรับประทานอาหาร เช่น ภาพเด็กตัวสูง เด็กตัวเตี้ย เด็กสุขภาพดี เด็กตัวผอมโซ ภาพอาหารที่มีประโยชน์ ภาพอาหารไม่มีประโยชน์ ภาพขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ของจริงนมชนิดต่างๆ มาให้เด็กดู

    4) เด็กและครูร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการรับประทานอาหาร โดยชูภาพเด็กประกอบ และการเลือกรับประทานอาหารที่จะทำให้นักเรียนเจริญเติบโต แข็งแรง

    ขั้นสรุป

    5) เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรรม พร้อมทั้งร่วมกันร้องเพลงอาหารนมตามแผนภูมิเพลงปรบมือเป็น จังหวะอีกครั้ง

    1. สื่อและแหล่งการเรียนรู้

              1) ภาพเด็กตัวสูง 2) เด็กตัวเตี้ย

                    3) เด็กสุขภาพดี 4) เด็กตัวผอมโซ

                    5) ภาพอาหารที่มีประโยชน์ 6) ภาพอาหารไม่มีประโยชน์

                    7) ภาพขนมกรุบกรอบ 8)น้ำหวาน

                    9) ของจริงนมชนิดต่างๆ 10) แผนภูมิเพลงอาหารนม

    1. การประเมินผล

    1) สังเกตการบอกความสาคัญของการรับประทานอาหาร

    2) สังเกตการร่วมสนทนากับครูและเพื่อน

    3) สังเกตการร้องเพลงอาหารนมและทาท่าทางประกอบ

    4) สังเกตพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

บันทึกรายงานการปฏิบัติการสอน

Details

บันทึกรายงานการปฏิบัติการสอน

การปฏิบัติการสอนวิดีโอครั้งที่ 1

None that you can see

วิดีโอปฏิบัติการสอนครั้ง ที่ 1 หน่วย กินดีอยู่ดี มีสุข

ผังมโนทัศน

AC1A6F45-9259-46C0-B897-AD1E88A4C93C.jpeg

ข้อมูลที่จัดเก็บ

  • โครงสร้างหน่วยการเรียนตลอดภาคเรียน
  • ผังมโนทัศน์ประจำหน่วยการเรียน
  • สื่อ 4 ชิ้น
  • ป้ายนิเทศ 4 ชิ้น
  • โครงการพัฒนาผู้เรียน
  • กิจกรรมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชุมชน
  • การบันทึกรายงานผลงานและการพัฒนาตนเอง
  • แฟ้มแสดงผลงานครู
  • บันทึกสรุปกิจกรรมการนิเทศ
Details

กรณี วิดีโอและการจัดประสบการณ์

  1. VDO บริบทของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ความยาว 3-5 นาที ประกอบด้วย การเปรียบเทียบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอดีตและภาพในปัจจุบันในมุมมองต่างๆ เช่น ป้ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สภาพแวดล้อมภายนอก สภาพห้องเรียน มุมประสบการณ์ เป็นต้น (ศพด.น่าอยู่และปลอดภัย)
  2. VDO การสอนเสริมประสบการณ์ (กิจกรรมวงกลม) สอนอย่างไรถึงจะเรียกว่ายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
  3. VDO การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวหรือเกมกลางแจ้ง หรือ เคลื่อนไหวและจังหวะ (ร้องเล่นเต้นรำ)

ข้อควรระวัง

VDO ก่อนนำเข้าระบบควรมีการตรวจสอบโดยคำนึงถึงหลักการศึกษาปฐมวัยและสิทธิเด็กเป็นสำคัญ

บันทึกรายงานการฝึกปฏิบัติการสอน 1