ถอดบทเรียน

by อรัญญา ภูพวก
Tags: ถอดบทเรียน
ถอดบทเรียนอาจารย์จิราพร

ถอดบทเรียน

ใบงาน ถอดบทเรียน
รหัสนักศึกษา571111321066  ชื่อนางอรัญญา ภูพวก ผู้ถอดบทเรียน
การถอดบทเรียน
1.สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ จากการพัฒนานิทานคุณธรรมจริยธรรม การทำใบงาน และนำไปทดลองใช้ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
   - เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจในนิทานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเรื่องอ๊ายอายคนเก่ง ซึ่งส่งเสิมคุณธรรม12ประการ ด้านความมีน้ำใจ เด็กเข้าใจความหมายของคำว่าน้ำใจคือการแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เด็กนำแบบอย่างจากตัวละครมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เด็กๆสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่ครูกำหนดได้ดี
2.ผลที่ได้รับจากการพัฒนานิทานคุณธรรมจริยธรรม การทำใบงาน และนำไปทดลองใช้ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับที่คาดหวังไว้)
     - น้อยกว่าที่คาดหวังไว้เพราะเด็กไม่สามารถทำงานและเรียนรู้ค่านิยมที่ควรยึดเป็นแบบอย่างจากนิทานคุณธรรมจริยธรรม เรื่องอ๊ายอายคนเก่ง ได้เต็มตามศักยภาพเพราะเราใช้เด็กศูนย์อื่นซึ่งบางครั้งเด็กอาจเกรงเราเลยไม่กล้าแสดงออกได้เต็มที่ด้านความคิดเนื่องจากศูนย์เด็กปิดเรียนเร็ว
กิจกรรมที่ทำไม่สอดคล้องต่อเนื่องครูต้องหากลุ่มเป้าหมายใหม่การเรียนรู้จึงล่าช้า ครูเองไม่มีเวลาในการผลิตสื่อที่ดีพอเพราะมีงานเยอะและต้องขอความอนุเคราะห์จากหลานๆทำช่วย

3.ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดความต่างกันระหว่าง สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ กับ ผลที่ได้รับ
- สาเหตุที่ทำให้เห็นถึงความต่างกันระหว่างสิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับกับผลที่ได้รับ เนื่องจากประชากรกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้คือเด็กในศพด .อบต.เหล่ากวางจำนวน56คนได้ฟังนิทานและนำความรู้ที่เด็กได้เรียนรู้จากนิทานทำให้เราเก็บข้อูลเด็กไม่ได้เต็มที่แต่เนื่องจากเด็กของเราปิดศูนย์เราเลยหาเด็กศูนย์อื่นแทนซึ่งในการเล่านิทานเด็กไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควรอาจเป็นเพราะเด็กและครูไม่คุ้นเคยกัน ขาดการติดต่อประสานงานที่ดีกับผู้ปกครองต้องอาศัยเพื่อนครูศูนย์อื่นช่วย
4.บทเรียนที่ได้รับสิ่งที่เรียนรู้จากสาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกต่างที่พบ  การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน  วิธีการเติมช่องว่างจากสิ่งที่คาดว่าจะได้รับกับผลที่ได้รับ
- สิ่งที่คาดว่าจะได้รับคือได้รับความร่วมมือจากเด็กผู้ปกครองชุมชนและการจัดกิจกรรมการเล่านิทานและมีความสามารถในการผลิตสื่อนิทาน
-ผลที่ได้รับคือไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้สื่อนิทานที่ทำค่อนข้างยาก
5. จากกิจกรรมการพัฒนานิทานคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษาคิดว่า ครูปฐมวัย ต้องสื่อสารกับตนเอง เพื่อน เด็ก ผู้ปกครองและชุมชนเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบ้าง  วิธีการสื่อสารใช้วิธีการใดได้บ้าง  ความถี่ที่ต้องใช้ในการสื่อสารกับคนแต่ละกลุ่มควรมีความถี่มากน้อยแค่ไหน

กลุ่มเป้าหมายในการสื่อสาร วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร "วิธีการสื่อสาร
(ระบุทั้งแบบวิธีการดั้งเดิม
และใช้เทคโนโลยี)" "ความถี่ในการสื่อสาร
(ทุกวัน/สัปดาห์ละครั้ง/เดือนละครั้ง/ภาคเรียนละเครื่อง)"
สื่อสารกับตัวเอง - เพื่อให้รู้ถึงความต้องการของตนเองและเรียงลำดับขั้นตอนต่างๆในการทำงาน จดบันทึกค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับนิทานจากอินเทอร์เนต ทุกวัน
สื่อสารกับเพื่อน - ได้นำข้อเสนอแนะที่ดีจากเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์นำมาปรับใช้ - ประชุมปรึกษาหารือวางแผนการทำงาน - สัปดาห์ละครั้ง
สื่อสารกับเด็ก - เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กว่าเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.เหล่ากวางมีคุณธรรมด้านใดบ้างครูควรเน้นและส่งเสริมคุณธรรมด้านใด -พูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆระหว่างเด็กและครู - ทุกวัน
สื่อสารกับผู้ปกครอง "-เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน
สร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูผู้ปกครองชุมชนและเพื่อนร่วมงาน
เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก" "ประชุม
พูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับตัวเด็ก" "ประชุมเดือนละครั้ง
ทุกวัน"
6.นักศึกษาได้มีการพัฒนาบุคลิกภาพของครูปฐมวัยอย่างไรบ้าง ระหว่างการทำกิจกรรมเล่านิทาน การทำใบงาน และการสื่อสารในกิจกรรมดังกล่าว
- พยายามแต่งตัวให้พร้อมทั้งเรื่องเสื้อผ้าหน้าตาและทรงผมให้ดูดีและน่าสนใจมากที่สุดและการพัฒนาเรื่องบุคลิกลิกภาพท่าทางน้ำเสียงในขณะเล่านิทานให้มีเสียงสูงต่ำน่าสนใจขณะเล่านิทานเด็กจะได้ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับนิทานที่เราเล่าครูควร้น้ำเสียงที่ไพเราะเสนาะหูไม่ใช้น้ำเสียงเกรี้ยวกราดเมื่อเด็กไม่พูดด้วย ครูควรเตรียมตัวมาก่อนการเล่านิทานครูควรศึกษาเนื้อหานิทานให้ถ่องแท้ก่อนเล่านิทานทุกครั้ง
7.คุณธรรม จริยธรรม และ จริยศาสตร์ด้านใดบ้างที่เกิดขึ้นระหว่างการทำกิจกรรมดังกล่าว
- ทำให้ครูมีความมุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่จะมาทำนิทาน ให้ประสบความสำเร็จ เรียนรู้การผลิตสื่อนิทานปฐมวัย
8.แฟ้มผลงานที่ทำขึ้นสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานตอบมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยตอนตรวจประกันคุณภาพได้อย่างไรบ้าง
- เราสามารถนำแฟ้มผลงานที่ทำเกี่ยวกับนิทานคุณธรรมจริยธรรมมาใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในเรื่องตัวครูมีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำมาประเมินพัฒนาการเด็กด้วย

ตารางข้อที่ 5