ผญาเรื่องฤดู
ความหมายของผญา
ผญา เป็นคำนาม แปลว่า ปัญญา ปรัชญา ความฉลาด คำพูดที่เป็นภาษิตที่มีความหมายอยู่ในเชิงเปรียบเทียบ ประกอบไปด้วยถ้อยคำอันหลักแหลมลึกซึ้ง คำกลอนผญาอาจจะเป็นกลอนพื้นบ้าน หนุ่มสาวพูดเกี้ยวพาราสีในการแสดงความรัก แต่ไม่ว่ากันตรง ๆ เป็นเพียงพูดเลียบเคียง กระทบกระเทียบเปรียบเปรยกัน และอาจว่าเป็นกลอนสดก็มี
ผญา เป็นคำที่ถ่ายทอดมาจากคำว่า “ปัญญา” และ “ปรัชญา” ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา นักปราชญ์โบราณอีสานท่านเปลี่ยนจากคำเดิมคือ ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ดังนั้น คำว่า ผญา ก็คงมีความหมายเช่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ตามพจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลาง ฉบับปณิธาน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสมหาเถระ) ให้ความหมายว่า ผญา (ผะหญา) เป็นคำนาม หมายถึง ปัญญา ปรัชญา ความฉลาด คำพูดที่เป็นภาษิตมีความหมายลึกซึ้งในเชิงเปรียบเทียบผญา ที่หมายถึง “ปัญญา” หรือ “ปรัชญา” หากนำมาพิจารณาความหมาย ผญา ตามหลักแห่งนิรุกติศาสตร์ ผญาตรงกับคำว่า “ปรัชญา” ในภาษาสันสกฤต และคำว่า “ปัญญา” ในภาษาบาลี ผญา จึงแปลว่าปัญญา หรือความรอบรู้ ดังคำกล่าว “ มีเงินเต็มพา บ่ท่อมีผญาเต็มปูม” หมายถึง มีเงินเต็มภาชนะไม่เท่ามีความรอบรู้ในวิทยาการ
ผญา หมายถึงคำพูดที่เป็นภาษิต มีความหมายลึกซึ้ง มีความไพเราะกินใจ คำนี้หมายความว่า ปัญญาในภาษาบาลี หรือปรัชญาในภาษาสันสกฤต ถ้าเป็นคำหรือข้อความที่ไม่แยบคายแต่สัมผัสลึกซึ้ง เป็นคติเรียกว่า “โตงโตย” ซึ่งตรงกับคำว่า “สำนวน” ในภาษาไทย บางแห่งในคำอีสาน เรียกว่า “ยาบซ่วง” หรือ “วาดเว้า” เช่น คำพูดเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวชาวอีสานสมัยก่อน แต่บางทีก็มักเรียกรวม ๆ กันว่า ผญา ไปเลย เพราะจะแยกจากกันให้เด็ดขาดก็ยากเต็มที ผญาจึงหมายถึงข้อความสั้น ๆ ที่มีเสียงคล้องจองกันอย่างไพเราะแฝงแง่คิดทางคดีโลก คดีธรรมฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ผญา คือ ถ้อยคำอันเป็นคำพูดของบรรดานักปราชญ์และบัณฑิตชาวอีสานแต่โบราณ ซึ่งท่านได้กลั่นกรองรจนาและสั่งสมไว้ เป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากความคิด ความฉลาด ที่ใช้ในการอบรม สั่งสอน แนะนำ ตักเตือน โดยผ่านผู้หลักผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ พระสงฆ์ นำมาอบรมสั่งสอนลูกหลาน ลูกศิษย์ และบุคคลทั่ว ๆ ไป ตลอดจนหนุ่มสาวใช้เกี้ยวพาราสีกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อผลต่อการศึกษา เศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนการแสดงสัจธรรมในชีวิตจริงของคนอีสาน
ผญา เป็นคำที่ถ่ายทอดมาจากคำว่า “ปัญญา” และ “ปรัชญา” ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา นักปราชญ์โบราณอีสานท่านเปลี่ยนจากคำเดิมคือ ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ดังนั้น คำว่า ผญา ก็คงมีความหมายเช่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ตามพจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลาง ฉบับปณิธาน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสมหาเถระ) ให้ความหมายว่า ผญา (ผะหญา) เป็นคำนาม หมายถึง ปัญญา ปรัชญา ความฉลาด คำพูดที่เป็นภาษิตมีความหมายลึกซึ้งในเชิงเปรียบเทียบผญา ที่หมายถึง “ปัญญา” หรือ “ปรัชญา” หากนำมาพิจารณาความหมาย ผญา ตามหลักแห่งนิรุกติศาสตร์ ผญาตรงกับคำว่า “ปรัชญา” ในภาษาสันสกฤต และคำว่า “ปัญญา” ในภาษาบาลี ผญา จึงแปลว่าปัญญา หรือความรอบรู้ ดังคำกล่าว “ มีเงินเต็มพา บ่ท่อมีผญาเต็มปูม” หมายถึง มีเงินเต็มภาชนะไม่เท่ามีความรอบรู้ในวิทยาการ
ผญา หมายถึงคำพูดที่เป็นภาษิต มีความหมายลึกซึ้ง มีความไพเราะกินใจ คำนี้หมายความว่า ปัญญาในภาษาบาลี หรือปรัชญาในภาษาสันสกฤต ถ้าเป็นคำหรือข้อความที่ไม่แยบคายแต่สัมผัสลึกซึ้ง เป็นคติเรียกว่า “โตงโตย” ซึ่งตรงกับคำว่า “สำนวน” ในภาษาไทย บางแห่งในคำอีสาน เรียกว่า “ยาบซ่วง” หรือ “วาดเว้า” เช่น คำพูดเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวชาวอีสานสมัยก่อน แต่บางทีก็มักเรียกรวม ๆ กันว่า ผญา ไปเลย เพราะจะแยกจากกันให้เด็ดขาดก็ยากเต็มที ผญาจึงหมายถึงข้อความสั้น ๆ ที่มีเสียงคล้องจองกันอย่างไพเราะแฝงแง่คิดทางคดีโลก คดีธรรมฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ผญา คือ ถ้อยคำอันเป็นคำพูดของบรรดานักปราชญ์และบัณฑิตชาวอีสานแต่โบราณ ซึ่งท่านได้กลั่นกรองรจนาและสั่งสมไว้ เป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากความคิด ความฉลาด ที่ใช้ในการอบรม สั่งสอน แนะนำ ตักเตือน โดยผ่านผู้หลักผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ พระสงฆ์ นำมาอบรมสั่งสอนลูกหลาน ลูกศิษย์ และบุคคลทั่ว ๆ ไป ตลอดจนหนุ่มสาวใช้เกี้ยวพาราสีกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อผลต่อการศึกษา เศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนการแสดงสัจธรรมในชีวิตจริงของคนอีสาน