สรุปบทเรียน วิชาทักษะชีวิต

บทที่ 3

Details

บทที่ 3 การปลูกฝังและสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย

แนวคิดการพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธศาสนาของพระธรรมปิฎก
พระธรรมปิฎก ได้นำแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาอธิบายถึงการปลูกฝังและสร้างทักษะชีวิต สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์ให้มีความสมบูรณ์อย่างองค์รวม หรือที่เรียกว่า “ไตรสิกขา” ด้วยเหตุที่เราเกิดมานอกจากจะมีชีวิตอยู่รอดแล้ว ต้องมีชีวิตอยู่ให้ดีด้วยการอาศัยสิกขา หรือศึกษา เรียนรู้ ฝึกฝน พัฒนาตนเองใน 3 ด้าน คือ ศีล (พฤติกรรม) สมาธิ (จิตใจ) และปัญญา และ องค์ประกอบทั้ง 3 ด้านคือ ศีล (พฤติกรรม) สมาธิ (จิตใจ) และปัญญา และ องค์ประกอบทั้ง 3 ด้านนี้ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะชีวิตเป็นองค์รวม มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การพัฒนาด้านหนึ่งด้านใดก็จะส่งผลกระทบอีกด้านหนึ่ง พฤติกรรมไม่สามารถแยกขาดจากจิตใจ จิตใจไม่สามารถแยกขาดจากปัญญา พฤติกรรมกับปัญญาก็แยกกันไม่ได้ พฤติกรรมจะเปลี่ยนไปด้วยดี ก็เพราะมีความไตรสิกขา เป็น การฝึกกาย วาจา ใจ และปัญญาของมนุษย์ ให้สามารถค้นพบและควบคุมตนเอง เรียนรู้และพัฒนาตนเองโดยใช้ปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น  แนวคิดด้านการสอนภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยการเล่านิทานคุณธรรม จริยธรรม โดยที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกผ่านการเล่นบทบาทสมมุติ