Collection: แฟ้มสะสมงานประจำภาคเรียนที่ 3/2558

บทความเรื่องกิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

บทความ

บทความเรื่องกิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                 การเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัยจะแตกต่างไปจากวิธีการเรียนรู้ภาษาของผู้ใหญ่เนื่องจากระดับวุฒิภาวะทางสติปัญญาของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กยังไม่สามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ไม่สามารถใช้อวัยวะทุกส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาทางภาษาได้อย่างเต็มที่ ความสามารถเหล่านี้ขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย และเนื่องจากภาษามีคุณสมบัติที่เป็นนามธรรม จึงต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษแทนความหมาย ซึ่งเด็กเล็กจะเรียนรู้ภาษาได้จากการได้ยินได้ฟังการพูดของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือจากการดำรงชีวิตประจำวันเมื่ออยู่ที่บ้าน จากนั้นเมื่อมาอยู่ในสถานศึกษาเด็กจะเรียนรู้จากครูและผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยการเลียนแบบเสียงที่ได้ยินจากผู้อื่นก่อนและจะสะสมคำแล้วสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นเอง ด้วยการนำคำที่สะสมไว้มาผสมผสานกันเพื่อเปล่งเสียงออกมา พัฒนาการต่อมาเมื่อเด็กโตขึ้น ก็จะเพิ่มคำเรื่อย ๆ และผูกเป็นประโยคตามขั้นตอนหรือพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาของเด็ก อย่างไรก็ตามเพื่อให้เด็กเรียนรู้ภาษาเป็นไปตามพัฒนาการ พ่อแม่ ครูผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องจัดประสบการณ์ทางภาษาให้มีความหมายกับเด็กประกอบกับการแสวงหาแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความแตกต่างของเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
               ความหมายของภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยภาษามีความหมายต่างกันดังนี้ ในแง่ภาษาศาสตร์ ภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดเพื่อสื่อความหมาย ดังนั้นภาษาในประเด็นนี้จึงรวมเอาวิธีการทุกอย่าง ที่ใช้ติดต่อสื่อความหมายหรือเพื่อแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ภาษาจึงหมายถึงการพูด การเขียน การทำท่าทางประกอบ การแสดงสีหน้า และการใช้ภาษาใบ้ เป็นต้น ด้านการศึกษา ภาษาเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ภาษาจึงหมายถึงการติดต่อระเบียบของการติดต่อ สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงแทนความคิดและความเข้าใจในลักษณะของการติดต่อนั้น ๆ 
​พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2546 (2546 : 822) ให้ความหมายของภาษาว่า คือ ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมายของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความหมายเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความหมายได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ
ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือเขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ  การเคลื่อนไหวร่างกาย  ดนตรี  การพูด และตามด้วยกรเขียน  การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ กับบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
​               ​ขั้นตอนพัฒนาการทางการศึกษา
โลแกน และ โลแกน ได้แบ่งพัฒนาการทางการภาษาออกเป็น 7 ขั้นดังนี้
1. ระยะเปะปะ ( stage หรือ preinguisic) อายุแรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้เป็นระยะที่เด็กนี้เป็นระยะที่เด็กจะเปล่งเสียงดัง ๆ ที่ยังไม่มีความหมาย การเปล่งเสียงของเด็กก็เพื่อบอกความต้องการของเขา และเมื่อได้การตอบสนองเขาจะรู้สึกพอใจ
2. ระยะแยกแยะ ( jergon stage ) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี เด็กจะสามารถแยกแยะเสียงต่าง ๆ ที่เขาได้ยินและเด็กจะรู้สึกพอใจที่จะได้ส่งเสียงและถ้าเสียงใดที่เขาเปล่งได้รับการตอบสนองในทางบวก เขาก็จะเปล่งเสียงนั้นซ้ำอีกในบางครั้งเด็กจะเลียนเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ที่มีคนคุยกับเขาว
3. ระยะเลียนแบบ ( lmitation stage ) อายุ 1 – 2 ขวบ ในระยะนี้เด็กจะเริ่มเลียนเสียงต่าง ๆ ที่เขาได้ยิน เช่น เสียงของพ่อแม่ ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด เสียงที่เปล่งออกมาอย่างไม่มีความหมายจะค่อย ๆ หายไปและเด็กจะเริ่มรับฟังเสียงที่ได้รับการตอบสนองซึ่งนับว่าพัฒนาการทางภาษาจะเริ่มต้นอย่างแท้จริงที่ระยะนี้

4. ระยะขยาย ( the stage of expansion ) อายุ 2-4 ขวบ ในระยะนี้เด็กจะหัดพูดโดยจะเริ่มจากการหัดเรียกชื่อ คน สัตว์ และสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว เขาจะเริ่มเข้าใจถึงการใช้สัญลักษณ์ ในการสื่อความหมาย ซึ่งเป็นการสื่อความหมายในโลกของผู้ใหญ่ การพูดของเด็กใน
ระยะแรก ๆ จะเป็นการออกเสียงคำนามต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง นก แมว หมา ฯ ลฯ และคำคุณศัพท์ต่าง ๆ ที่เขาเห็น รู้สึกและได้ยิน ซึ่งในวัยต่าง ๆ เขาจะสามารถพูดได้ดังนี้
- อายุ 2 ขวบ เด็กจะเริ่มพูดเป็นคำโดยจะสามารถใช้คำนามได้ 20 %
- อายุ 3 ขวบ เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคได้
- อายุ 4 ขวบ เด็กจะเริ่มใช้คำศัพท์ต่าง ๆ และรู้จักการใช้คำเติมหน้า และลงท้ายอย่างที่ผู้ใหญ่ใช้กัน
5. ระยะโครงสร้าง ( structure stage ) อายุ 4-5 ขวบ ระยะนี้เด็กจะเริ่มพัฒนาความสามารถในการรับรู้และการสังเกต เด็กจะเริ่มเล่นสนุกกับคำและประโยคของตนเองโดยอาศัยการผูกจากคำวลี และประโยคที่เขาได้ยินคนอื่น ๆ พูด เด็กจะเริ่มคิดกฎเกณฑ์ในการประสมคำ และหาความหมายของคำและวลี โดยเด็กจะเริ่มรู้สึกสนุกกับการเปล่งเสียง โดยเขาจะเล่นเป็นเกมกับเพื่อน ๆ หรือสมาชิกในครอบครัว
6. ระยะตอบสนอง ( responding stage ) อายุ 5-6 ขวบ ในระยะนี้ ความสามารถในการคิดและพัฒนาการทางภาษาของเด็กจะสูงขึ้น เขาจะเรื่มพัฒนาภาษาไปสู่ภาษาที่เป็นแบบแผนมากขึ้น และใช้ภาษาเหล่านั้นกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวการพัฒนาทางภาษาของเด็กในวัยนี้จะเริ่มต้นเมื่อเขาเข้าเรียนในชั้นอนุบาล โดยเด็กจะเริ่มใช้ไวยากรณ์อย่างง่าย ๆ ได้ รู้จักใช้คำที่เกี่ยงข้องกับบ้านและโรงเรียน ภาษาที่เด็กใช้ในการสื่อความหมายในระยะนี้จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เขามองเห็นและรับรู้
7. ระยะสร้างสรรค์ ( creative stage ) อายุ 6 ปีขึ้นไปในระยะนี้ได้แก่ ระยะที่เด็กเริ่มเข้าโรงเรียน เด็กจะเล่นสนุกกับคำ และหาวิธีสื่อความหมายด้วยตัวเลข เด็กในระยะนี้จะพัฒนาวิเคราะห์และสร้างสรรค์ ทักษะในการสื่อความหมายโดยใช้ถ้อยคำ สำนวนการเปรียบเทียบและภาษาที่พูดที่เป็นนามธรรมมากขึ้น และเขาจะรู้สึกสนุกกับการแสดงความคิดเห็นโดยการพูดและการเขียน
ราศรี ทองสวัสดิ์ กล่าวว่า ภาษาของเด็กประกอบด้วย 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ตามลำดับ ทักษะทางภาษามีความเกี่ยงข้องกับเด็ก
                 ทฤษฏีพัฒนาการทางภาษา (theories of language development )
1. ทฤษฏีความพึงพอใจแห่งตน ( the autism theory หรือ autistic ) ทฤษฏีนี้ถือว่าเป็นการเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเรียนเสียงอันเนื่องมาจากการพึงพอใจที่จะได้ทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ ( mowrer ) เชื่อว่าความสามารถในการฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงของผู้อื่นและเสียงของตนเองเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการทางภาษา
2. ทฤษฏีการเลียนแบบ ( the lmitation theory) เลวิส ( lewis ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเลียนแบบในการพํฒนาภาษาอย่างละเอียด ทฤษฏีนี้เชื่อว่าพัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง
3. ทฤษฏีเสริมแรง ( reinforcement theory ) ทฤษฏีนี้อาศัยจากหลักทฤษฏีการเรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ ( rhiengold ) และคณะศึกษาพบว่า เด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รับรางวัล หรือได้รับการเสริมแรง
4. ทฤษฏีการรับรู้( motor theory of perception) ลิบูอร์แมน ( liberman) ตั้งสมมุติฐานไว้ว่าการรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่าเด็กมักจ้องหน้าเวลาเรา พูดด้วยการทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟังและพูดซ้ำกับตนเอง หรือหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่านริมฝีปากแล้วจึงเรียนรู้คำ
5. ทฤษฏีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (babble buck ) ซึ่ง ธอร์นไดค์ ( thorndike )เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่าเมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีบางเสียงไปคล้ายกับ เสียงที่มีความหมายในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
6. ทฤษฏีชีววิทยา ( biological theory ) เลนเนเบอร์ก ( lenneberg ) เชื่อว่าพัฒนาการทางภาษานั้นมีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการเปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้และพูดได้ตามลำดับ
7. ทฤษฏีการให้รางวัลของแม่( mother reward theory ) ดอลลาร์ด(Dollard ) และ มิลเลอร์( miller ) เป็นผู้คิดทฤษฏีนี้โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ของเด็ในการพํฒนาภาษาของเด็กว่าภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อสนองความต้องการของลูกนั้นเป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก จากการศึกษาทฤษฏีและกระบวนการเรียนภาษดังกล่าว จะได้ว่าพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการพัฒนาการเป็นขั้นตอน เด็กจะเรียนรู้ภาษาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในลักษณะที่เลียนแบบหรือลองผิดถูก การเร้าและการได้รับแรงเสริมจากคนใกล้ชิดจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษา ได้ดียิ่งขึ้น
             สรุปได้ว่า การเรียนรู้ภาษาของเด็ก ทุกคนจะมีพัฒนาการไปตามขั้นตอนและกระบวนการที่เหมือนกันซึ่งเริ่มจากขั้นตอนที่ง่าย ๆ โดยธรรมชาติ มีการพัฒนาตามอายุ และพัฒนาการ ซึ่งสามารถส่งเสริมให้เด็กมีทักษะ โดยสอดแทรกในกิจกรรมประจำวันของเด็ก อีกทั้งการจัดสภาพแวดล้อมที่มีอำนาจแก่การเรียนรู้ภาษาของเด็ก บุคคลที่แวดล้อมตัวเด็กจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กมาก ทั้งนี้ รวมถึงสภาพแวดล้อม และปัจจัยต่าง ๆ ล้วนมีผลในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก เด็กจะมีพัฒนาการด้านภาษาที่ดี ได้โดยการมีสิ่งยั่วยุให้เด็กเกิดทักษะทางการฟัง มุ่งสู่พัฒนาการพูด การเขียน และการอ่าน อีกตามลำดับต่อไป

อ้างอิงจาก http://soavaluc.igetweb.com/articles/442862/กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย.html