ถอดบทเรียน

by ปัณฑิตา
Tags: ถอดบทเรียน
ถอดบทเรียน อาจารย์จิราพร รัตนคำ

ถอดบทเรียน

ใบงาน ถอดบทเรียน
รหัสนักศึกษา  571111321095              นางปัณฑิตา  สืบสิงห์
การถอดบทเรียน
1.สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ จากการพัฒนานิทานคุณธรรมจริยธรรม การทำใบงาน และนำไปทดลองใช้ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ตอบ เด็กเกิดความสำเร็จในการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เช่น
-พัฒนาความพร้อมด้านการสื่อสาร คือการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
-พัฒนาความพร้อมด้านการแสวงหาความรู้ โดยการคิด การแสวงหาคำตอบ
-พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์
-พัฒนาพฤติกรรมของเด็กให้ดีขึ้น
2.ผลที่ได้รับจากการพัฒนานิทานคุณธรรมจริยธรรม การทำใบงาน และนำไปทดลองใช้ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับที่คาดหวังไว้)
ตอบ - เด็กๆ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคูขาด มีความพร้อมในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ไปในทางที่ดีขึ้น เช่น มีทักษะในการสื่อสาร การใช้ภาษา การพูดที่ชัดขึ้น พูดจาไพเราะ จำเหตุการณ์ เรียงลำดับเหตุการณ์ได้ดี สามารถถ่ายทอดเรื่องราว ถ่ายทอดความคิดผ่านการเขียนภาพให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-เด็กๆเกิดทักษะด้านความสามารถในการแสวงหาความรู้จากเหตุการณ์ต่างๆ การแสดงออกทางความคิดโดยการสนทนาตอบคำถามจากเรื่องราวที่ได้ฟัง
-เด็กได้รับความสนุกสนาน ได้รับความรู้ไปโดยไม่รู้ตัว เลียนแบบความดีตามตัวละครในนิทานที่ครูได้สอดแทรก เด็กๆ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองไปในทางที่ดีขึ้น เช่น การพูดจาไพเราะ มีระเบียบวินัย อดทนรอคอยได้ดีขึ้น
-มีความอยากรู้อยากเห็น ในการทำกิจกรรม มีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมมากขึ้น ช่างซักถาม สามารถจำเรื่องราวนิทาน และนำไปเล่าให้ผู้อื่นฟังได้
3.ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดความต่างกันระหว่าง สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ กับ ผลที่ได้รับ
ตอบ ระยะเวลา ความถี่ในการจัดกิจกรรมเล่านิทาน ระยะเวลา 3 วัน/สัปดาห์ จะทำให้เด็กสามารถจำเรื่องราวเนื้อหาในนิทานได้ดี สามารถถ่ายทอด โดยการเล่าเรื่องราวให้ผู้อื่นฟังได้ อีกทั้งยังถ่ายทอดความคิดเห็นผ่านการเขียนเป็นภาพได้
4.บทเรียนที่ได้รับสิ่งที่เรียนรู้จากสาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกต่างที่พบ  การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน  วิธีการเติมช่องว่างจากสิ่งที่คาดว่าจะได้รับกับผลที่ได้รับ
ตอบ - ระยะเวลา  ความถี่ในการสื่อสารกับเด็กและผู้ปกครอง
       - วิธีการที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครอง
เนื่องจากเวลาและความถี่ในการพบปะกันระหว่างครู เด็ก ผู้ปกครอง มีน้อยจึงทำให้เกิดช่องว่างในการสื่อสารที่ไม่สม่ำเสมอ ครูจึงได้จัดทำแผ่นเนื้อเรื่องนิทานสำหรับให้ผู้ปกครองนำไปอ่านให้ลูกฟังที่บ้านแทนการยืมหนังสือนิทาน เนื่องจากมีไม่เพียงพอ
5.จากกิจกรรมการพัฒนานิทานคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษาคิดว่า ครูปฐมวัย ต้องสื่อสารกับตนเอง เพื่อน เด็ก ผู้ปกครองและชุมชนเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบ้าง  วิธีการสื่อสารใช้วิธีการใดได้บ้าง  ความถี่ที่ต้องใช้ในการสื่อสารกับคนแต่ละกลุ่มควรมีความถี่มากน้อยแค่ไหน
กลุ่มเป้าหมายในการสื่อสาร วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร   "วิธีการสื่อสาร
                                                                                       (ระบุทั้งแบบวิธีการดั้งเดิมและใช้เทคโนโลยี)" "ความถี่ในการ         สื่อสาร
                                                       (ทุกวัน/สัปดาห์ละครั้ง/เดือนละครั้ง/ภาคเรียนละเครื่อง)"
1.สื่อสารกับตัวเอง      เพื่อให้มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน เกิดการพัฒนาตนเองทั้งในด้านการพัฒนานิทาน    และพัฒนาบุคลิกภาพของตน ศึกษาค้นคว้าวิธีการ และเทคนิคการเล่านิทานจากอินเตอร์เน็ต ทุกวัน
2.สื่อสารกับเพื่อน เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสม ประชุม ปรึกษาหารือ จัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทุกวัน
3.สื่อสารกับเด็ก จัดกิจกรรมการเล่านิทาน และทำใบงาน 3 วัน/สัปดาห์
4.สื่อสารกับผู้ปกครอง จัดทำแผ่นใบงานและนิทานให้เอากลับไปเล่าให้ลูกฟังที่บ้าน 3 วัน/สัปดาห์
6. นักศึกษาได้มีการพัฒนาบุคลิกภาพของครูปฐมวัยอย่างไรบ้าง ระหว่างการทำกิจกรรมเล่านิทาน การทำใบงาน และการสื่อสารในกิจกรรมดังกล่าว                 ตอบ  เนื่องจากมีการบันทึกวีดีโอ และถ่ายภาพขณะที่ครูทำกิจกรรมการเล่านิทานจะทำให้ครูเห็นถึงอิริยาบทต่างๆ ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง การพูด การทำท่าทางประกอบการเล่า จึงทำให้ทราบถึงจุดที่ต้องมีการพัฒนาบุคลิกภาพต่างๆเหล่านี้ เช่น พูดให้มีน้ำเสียงที่เหมาะสมกับเด็กและเนื้อหาในนิทาน แสดงท่าทางประกอบตามความเหมาะสม ส่วนใบงานพยายามปรับให้เหมาะกับวัยของเด็ก การสื่อสารกับเด็กและผู้ปกครองในลักษณะเป็นการขอความร่วมมือในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบ้านกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
7. คุณธรรม จริยธรรม และ จริยศาสตร์ด้านใดบ้างที่เกิดขึ้นระหว่างการทำกิจกรรมดังกล่าว
         ตอบ กิจกรรมนิทาน " ลูกเสือกตัญญู" เป็นการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ด้านความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ จากกิจกรรมการเล่าครูได้สอดแทรกด้านความมีน้ำใจ การมีความสุภาพอ่อนหวาน ในการพูดคุยกันของตัวละคร ซึ่งครูสามารถบูรณาการได้ทุกเรื่องในขณะทำกิจกรรม
8.แฟ้มผลงานที่ทำขึ้นสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานตอบมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยตอนตรวจประกันคุณภาพได้อย่างไรบ้าง
ตอบ  - ระยะเวลา  ความถี่ในการสื่อสารกับเด็กและผู้ปกครอง
       - วิธีการที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครอง
เนื่องจากเวลาและความถี่ในการพบปะกันระหว่างครู เด็ก ผู้ปกครอง มีน้อยจึงทำให้เกิดช่องว่างในการสื่อสารที่ไม่สม่ำเสมอ ครูจึงได้จัดทำแผ่นเนื้อเรื่องนิทานสำหรับให้ผู้ปกครองนำไปอ่านให้ลูกฟังที่บ้านแทนการยืมหนังสือนิทาน เนื่องจากมีไม่เพียงพอ

ตารางข้อที่5

Details