ปกนิทาน ช้างน้อย คอยได้
ชวนคุยก่อนเล่าเรื่อง
นิทานเรื่อง ช้างน้อย คอยได้
นิทานเรื่อง ช้างน้อย คอยได้
ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีช้างน้อยและเพื่อนอาศัยอยู่ เช้าวันหยุดสดใสช้างน้อยนึกอยากจะกินไอศครีมอร่อยๆขึ้นมาก็เลยเดินไปที่ร้านขายไอศครีมแต่มองเห็นคนต่อแถวอยู่ยาวเหยียดเลย ช้างน้อยก็เลยพูดกับตัวเองขึ้นว่า
"ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ช้างน้อยคอยได้" อะฮ้า....ถึงคิวของช้างน้อยแล้วล่ะ. อ้ำ....อร่อยจังเลย
เมื่อช้างน้อยกินไอศครีมหมดช้างน้อยก็อยากจะเข้าห้องน้ำแต่มีคนยืนต่อแถวอยู่เยอะแยะเลย ช้างน้อยจึงเดินไปต่อแถวแล้วพูดกับตัวเองขึ้นว่า
"ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ช้างน้อยคอยได้"ถึงคิวของช้างน้อยแล้วล่ะ เฮ้อ...โล่งท้องจังเลย
เมื่อช้างน้อยเข้าห้องน้ำเสร็จจึงเดินออกมาเห็นเพื่อนๆกำลังเล่นชิงช้ากันอย่างสนุกสนาน ช้างน้อยอยากจะเล่นชิงช้าแต่มองเห็นเพื่อนๆเข้าแถวรอเล่นอยู่หลายคนเลย ช้างน้อยจึงพูดกับตัวเองขึ้นอีกว่า
"ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ช้างน้อยคอยได้"ถึงคิวของช้างน้อยแล้วนี่นา ฮ่า ฮ่า ฮ่า สนุกจังเลย
ในขณะที่ช้างน้อยเล่นชิงช้าอยู่นั้นอย่างสนุกสนานอยู่นั้นช้างน้อยเกิดหิวน้ำขึ้นมาเดินไปต่อแถวแล้วพูดกับตัวเองขึ้นว่า
"ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ช้างน้อยคอยได้" ถึงคิวของช้างน้อยแล้วล่ะ อึก อึก อึก ชื่นใจจังเลย
เมื่อช้างน้อยดื่มน้ำอิ่มแล้วจึงมานั่งคิดว่าอยากจะลองปลูกต้นทานตะวันเอง แต่การปลูกต้นทานตะวันนานมากเลย ช้างน้อยจึงพูดกับตัวเองขึ้นว่า
"ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ช้างน้อยคอยได้"ถึงแม้จะต้องใช้เวลาเนิ่นนาน แต่ช้างน้อยก็อดทนรอคอยและหมั่นดูแลต้นทานตะวันอย่างตั้งใจ
จนกระทั่ง..........."โอ้โฮ.....!สวยที่สุดเลย
ดีใจจังเลยช้างน้อยทำสำเร็จแล้ว ไชโย!"
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การรู้จักการรอคอยลำดับก่อนหลังเป็นพลังที่เสริมสร้างวินัยให้กับตนเอง
นำมาเสริมค่านิยม12ประการข้อที่8 การมีระเบียบวินัย การเคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่
บันทึกการสะท้อนแนวคิด
บันทึกการสะท้อนแนวคิดที่ได้จากการพัฒนานิทาน
1. สิ่งที่เรียนรู้จากการสร้างนิทาน
> ได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ มีทักษะในการสื่อสารและการสร้างนิทานเพิ่มมากขึ้นจากการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆรวมทั้งข้อมูลพฤติกรรมของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและลงมือผลิตสื่อนิทาน
2. ความรู้สึกที่มีต่อการสร้างนิทาน
> รู้สึกกลัวและมีความกังวลมากเมื่อรู้ว่าต้องสร้างผลงานนิทานด้วยตนเอง และไม่รู้จะสร้างนิทานเรื่องอะไรและไม่รู้ว่าจะทำได้รึเปล่าเพราะเป็นคนวาดรูปไม่เก่ง เมื่อได้ลงมือหาข้อมูลและได้รับคำแนะนำจากอาจาร์ เพื่อนร่วมงานและข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทำให้มีแนวทางในการสร้างนิทานจนเสร็จสมบูรณ์และนำมาใช้ได้จริงทำให้มีความภาคภูมิใจในผลงานนิทานของตนเอง
3. ขั้นตอนในการสร้างนิทาน
< 1. ศึกษา สังเกต และถามข้อมูลผู้ปกครอง เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็ก
2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
3. ปรึกษาขอคำแนะนำจากเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับนิทาน
4. กำหนดโครงเรื่อง เนื่อเรื่อง ตัวละคร ของนิทาน (โดยนำมาจากพฤติกรรมเด็ก)
5. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์การทำนิทาน
6. ลงมือสร้างสื่อนิทานจนเสร็จสมบูรณ์
7. จัดกิจกรรมการเล่านิทานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
4. ปัญหาและอุปสรรค
> การสร้างเนื้อหานิทานการใช้คำพูดยังไม่ถูกต้องชัดเจน วาดภาพไม่เก่งทำให้สื่อนิทานภาพไม่สวยงามการทำรูปเล่มไม่คงทนสวยงาม เด็กบางคนไม่คอยสนใจฟังการเล่านิทานเพราะสมาธิของเด็กยังสั้นอยู่
5.แนวทางแก้ไข
> ปรึกษาขอคำแนะนำจากอาจารย์เพื่อนร่วมงานและผู้มีประสบการณ์ในการสร้างนิทาน ศึกษาวิธีการวาดภาพระบายสีและการประกอบรูปเล่มเพิ่มเติม เพิ่มเทคนิคในการเล่านิทาน ควรมีเสียงสูงเสียงตำ่ ท่าทางประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจในการฟังนิทานของเด็กๆ
1. สิ่งที่เรียนรู้จากการสร้างนิทาน
> ได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ มีทักษะในการสื่อสารและการสร้างนิทานเพิ่มมากขึ้นจากการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆรวมทั้งข้อมูลพฤติกรรมของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและลงมือผลิตสื่อนิทาน
2. ความรู้สึกที่มีต่อการสร้างนิทาน
> รู้สึกกลัวและมีความกังวลมากเมื่อรู้ว่าต้องสร้างผลงานนิทานด้วยตนเอง และไม่รู้จะสร้างนิทานเรื่องอะไรและไม่รู้ว่าจะทำได้รึเปล่าเพราะเป็นคนวาดรูปไม่เก่ง เมื่อได้ลงมือหาข้อมูลและได้รับคำแนะนำจากอาจาร์ เพื่อนร่วมงานและข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทำให้มีแนวทางในการสร้างนิทานจนเสร็จสมบูรณ์และนำมาใช้ได้จริงทำให้มีความภาคภูมิใจในผลงานนิทานของตนเอง
3. ขั้นตอนในการสร้างนิทาน
< 1. ศึกษา สังเกต และถามข้อมูลผู้ปกครอง เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็ก
2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
3. ปรึกษาขอคำแนะนำจากเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับนิทาน
4. กำหนดโครงเรื่อง เนื่อเรื่อง ตัวละคร ของนิทาน (โดยนำมาจากพฤติกรรมเด็ก)
5. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์การทำนิทาน
6. ลงมือสร้างสื่อนิทานจนเสร็จสมบูรณ์
7. จัดกิจกรรมการเล่านิทานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
4. ปัญหาและอุปสรรค
> การสร้างเนื้อหานิทานการใช้คำพูดยังไม่ถูกต้องชัดเจน วาดภาพไม่เก่งทำให้สื่อนิทานภาพไม่สวยงามการทำรูปเล่มไม่คงทนสวยงาม เด็กบางคนไม่คอยสนใจฟังการเล่านิทานเพราะสมาธิของเด็กยังสั้นอยู่
5.แนวทางแก้ไข
> ปรึกษาขอคำแนะนำจากอาจารย์เพื่อนร่วมงานและผู้มีประสบการณ์ในการสร้างนิทาน ศึกษาวิธีการวาดภาพระบายสีและการประกอบรูปเล่มเพิ่มเติม เพิ่มเทคนิคในการเล่านิทาน ควรมีเสียงสูงเสียงตำ่ ท่าทางประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจในการฟังนิทานของเด็กๆ