นิทานเรื่อง น้ำใจของจุ๊บแจง
นิทานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
สอดคล้องกับค่านิยม 12 ประการ
ข้อ 6 มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
นิทานเรื่อง น้ำใจของจุ๊บแจง
วันนี้คุณครูน้ำใจพาเด็กหญิงแสนสวยชื่อว่า จุ๊บแจง และเพื่อนๆ ไปเที่ยวสวนสัตว์
จุ๊บแจง : "โอ้โห! เพื่อนๆ ดูนั่นสิตัวอะไรมีเขาสวยจังเลย"
เพื่อน : " อ๋อ...นั่นเขาเรียกว่ากวางจ๊ะ "
เด็กๆ ดูตื่นเต้นและชอบกวางน้อยมาก เพราะกวางมีเขาสวยและชอบเล่นกับเด็กๆ ในขณะที่จุ๊บแจงและเพื่อนๆ กำลังเดินดูสัตว์ต่างๆ อยู่นั้น จุ๊บแจงก็เห็นรถขายลูกชิ้นผ่านมาพอดี
จุ๊บแจง : " อุ๊ย! ดูโน่นสิรถขายลูกชิ้นมาแล้ว เราไปซื้อลูกชิ้นกันใหม"
เพื่อน : " กำลังหิวเลย ปะเราไปซื้อลูกชิ้นกัน"
จุ๊บแจงและเพื่อนๆ จึงไปซื้อลูกชิ้น จุ๊บแจงซื้อลูกชิ้นมาจำนวน 2 ไม้ เพราะจะได้แบ่งเพื่อนกินด้วย ระหว่างทางจุ๊บแจงเห็นเด็กหญิงคนหนึ่งกำลังยืนร้องไห้อยู่ จึงเข้าไปถาม
จุ๊บแจง : "น้องเป็นอะไรจ๊ะ ทำไมถึงร้องไห้ "
เด็กหญิง : " ฮือๆๆ หนูทำลูกชิ้นหล่นพื้นน่ะ "
เด็กหญิงมองดูลูกชิ้นที่ตกอยู่บนพื้นด้วยความเสียดาย จุ๊บแจงมองดูลูกชิ้นที่ตกอยู่บนพื้นแล้วจึงคิดได้ว่า เราซื้อลูกชิ้นมา 2 ไม้นี่นา ถ้าเราแบ่งให้เด็กคนนี้ไป 1 ไม้ เราก็ยังเหลือลูกชิ้นอีก 1 ไม้ จุ๊บแจงจึงพูดขึ้นว่า
จุ๊บแจง : " ไม่ต้องร้องไห้นะ เราซื้อลูกชิ้นมา 2 ไม้พอดี เดี๋ยวเราแบ่งให้ 1 ไม้นะ "
เด็กหญิง : " ขอบคุณมากค่ะ "
จุ๊บแจง : " ไม่เป็นไรหรอกจ๊ะ เรายังเหลืออีกหนึ่งไม้น่ะ"
เด็กหญิงดีใจมากกล่าวขอบคุณจุ๊บแจง แล้ววิ่งจากไป จุ๊บแจงจึงกลับไปหาคุณครูและเพื่อน
ในขณะที่คุณครูน้ำใจกำลังเช็คชื่อนักเรียนอยู่นั้น คุณแม่ของน้องได้มาขอบคุณจุ๊บแจงที่มีน้ำใจแบ่งปันลูกชิ้นให้กับน้อง คุณครูน้ำใจจึงกล่าวชมเชยน้องจุ๊บแจงและให้ทุกคนดูจุ๊บแจงเป็นตัวอย่าง
คุณครูน้ำใจ : "เก่งมากเลยค่ะน้องจุ๊บแจง หนูเป็นเด็กดีมีน้ำใจและขอให้เด็กๆ
ทุกคนปรบมือให้กับจุ๊บแจงด้วยค่ะ"
จุ๊บแจง : "ขอบคุณครูและเพื่อนๆ นะคะ"
วันนี้จุ๊บแจงรู้สึกภาคภูมิใจและมีความสุขมาก กลับถึงบ้านจุ๊บแจงจะเล่าให้คุณพ่อ คุณแม่ฟัง เมื่อกลับถึงบ้านจุ๊บแจงเล่าให้คุณแม่ฟัง คุณแม่กล่าวชมจุ๊บแจงเป็นเด็กดีและมีน้ำใจ เมื่อไปที่โรงเรียนจุ๊บแจงก็แบ่งขนมให้เพื่อนกินด้วย จุ๊บแจงจึงเป็นที่รักของทุกๆ คน
" นิทานเรื่องนี้สอนให้เด็กรู้จักเห็นอกเห็นใจคนอื่น และมีน้ำใจกับผู้อื่น "
สอดคล้องกับค่านิยม 12 ประการ
ข้อ 6 มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
นิทานเรื่อง น้ำใจของจุ๊บแจง
วันนี้คุณครูน้ำใจพาเด็กหญิงแสนสวยชื่อว่า จุ๊บแจง และเพื่อนๆ ไปเที่ยวสวนสัตว์
จุ๊บแจง : "โอ้โห! เพื่อนๆ ดูนั่นสิตัวอะไรมีเขาสวยจังเลย"
เพื่อน : " อ๋อ...นั่นเขาเรียกว่ากวางจ๊ะ "
เด็กๆ ดูตื่นเต้นและชอบกวางน้อยมาก เพราะกวางมีเขาสวยและชอบเล่นกับเด็กๆ ในขณะที่จุ๊บแจงและเพื่อนๆ กำลังเดินดูสัตว์ต่างๆ อยู่นั้น จุ๊บแจงก็เห็นรถขายลูกชิ้นผ่านมาพอดี
จุ๊บแจง : " อุ๊ย! ดูโน่นสิรถขายลูกชิ้นมาแล้ว เราไปซื้อลูกชิ้นกันใหม"
เพื่อน : " กำลังหิวเลย ปะเราไปซื้อลูกชิ้นกัน"
จุ๊บแจงและเพื่อนๆ จึงไปซื้อลูกชิ้น จุ๊บแจงซื้อลูกชิ้นมาจำนวน 2 ไม้ เพราะจะได้แบ่งเพื่อนกินด้วย ระหว่างทางจุ๊บแจงเห็นเด็กหญิงคนหนึ่งกำลังยืนร้องไห้อยู่ จึงเข้าไปถาม
จุ๊บแจง : "น้องเป็นอะไรจ๊ะ ทำไมถึงร้องไห้ "
เด็กหญิง : " ฮือๆๆ หนูทำลูกชิ้นหล่นพื้นน่ะ "
เด็กหญิงมองดูลูกชิ้นที่ตกอยู่บนพื้นด้วยความเสียดาย จุ๊บแจงมองดูลูกชิ้นที่ตกอยู่บนพื้นแล้วจึงคิดได้ว่า เราซื้อลูกชิ้นมา 2 ไม้นี่นา ถ้าเราแบ่งให้เด็กคนนี้ไป 1 ไม้ เราก็ยังเหลือลูกชิ้นอีก 1 ไม้ จุ๊บแจงจึงพูดขึ้นว่า
จุ๊บแจง : " ไม่ต้องร้องไห้นะ เราซื้อลูกชิ้นมา 2 ไม้พอดี เดี๋ยวเราแบ่งให้ 1 ไม้นะ "
เด็กหญิง : " ขอบคุณมากค่ะ "
จุ๊บแจง : " ไม่เป็นไรหรอกจ๊ะ เรายังเหลืออีกหนึ่งไม้น่ะ"
เด็กหญิงดีใจมากกล่าวขอบคุณจุ๊บแจง แล้ววิ่งจากไป จุ๊บแจงจึงกลับไปหาคุณครูและเพื่อน
ในขณะที่คุณครูน้ำใจกำลังเช็คชื่อนักเรียนอยู่นั้น คุณแม่ของน้องได้มาขอบคุณจุ๊บแจงที่มีน้ำใจแบ่งปันลูกชิ้นให้กับน้อง คุณครูน้ำใจจึงกล่าวชมเชยน้องจุ๊บแจงและให้ทุกคนดูจุ๊บแจงเป็นตัวอย่าง
คุณครูน้ำใจ : "เก่งมากเลยค่ะน้องจุ๊บแจง หนูเป็นเด็กดีมีน้ำใจและขอให้เด็กๆ
ทุกคนปรบมือให้กับจุ๊บแจงด้วยค่ะ"
จุ๊บแจง : "ขอบคุณครูและเพื่อนๆ นะคะ"
วันนี้จุ๊บแจงรู้สึกภาคภูมิใจและมีความสุขมาก กลับถึงบ้านจุ๊บแจงจะเล่าให้คุณพ่อ คุณแม่ฟัง เมื่อกลับถึงบ้านจุ๊บแจงเล่าให้คุณแม่ฟัง คุณแม่กล่าวชมจุ๊บแจงเป็นเด็กดีและมีน้ำใจ เมื่อไปที่โรงเรียนจุ๊บแจงก็แบ่งขนมให้เพื่อนกินด้วย จุ๊บแจงจึงเป็นที่รักของทุกๆ คน
" นิทานเรื่องนี้สอนให้เด็กรู้จักเห็นอกเห็นใจคนอื่น และมีน้ำใจกับผู้อื่น "
น้ำใจของจุ๊บแจง
บันทึกการสะท้อนความคิดบทเรียนที่ได้จากการพัฒนานิทาน
สิ่งที่เรียนรู้จากนิทาน
- ได้เรียนรู้เทคนิคการวาดภาพและแต่งเนื้อเรื่องนิทานให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
- ได้เรียนรู้เทคนิคการเล่านิทานให้สนุกสนานและผู้ฟังเกิดความสนใจ
- ได้เรียนรู้เทคนิคการทำหนังสือนิทานให้สวยงาม แข็งแรง คงทน และดึงดูดความสนใจของเด็ก
ความรู้สึกที่มีต่อการสร้างนิทาน
- เริ่มแรกรู้สึกกังวลกับการแต่งนิทานและทำหนังสือนิทานมาก
- หลังจากที่ได้ลงมือทำนิทานรู้สึกสนุกและภูมิใจที่ได้สร้างหนังสือนิทานเอง ได้มีการพัฒนาทักษะหลายๆ
ด้านในการสร้างนิทาน และสามารถสร้างนิทานออกมาได้ดี
ขั้นตอนในการสร้างนิทาน
- ศึกษาข้อมูลนิทานคุณธรรมจริยธรรม ทางอินเตอร์เน็ต
- ศึกษาข้อมูลพฤติกรรมเด็ก และกำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างนิทาน
- วางโครงเรื่องและตัวละคร
- เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำนิทาน
- วัดระยะของกระดาษและตัดกระดาษให้ได้ขนาดตามต้องการ
- วาดภาพฉากและตัวละคร
- ระบายสีให้สวยงาม
- เข้าเล่มนิทานและเคลือบด้วยสติ๊กเกอร์ใสเพื่อให้มีสภาพแข็งแรง คงทน ต่อการใช้งาน
- นำไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายและปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
ความประทับใจในการสร้างนิทาน
- รู้สึกภูมิใจที่ได้สร้างนิทานด้วยตนเอง
- เด็กๆ ชอบและให้ความสนใจนิทาน อยากฟังซ้ำอีก
- ได้เรียนรู้ทักษะและพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองในการสร้างนิทาน
ปัญหาและอุปสรรค
- ขาดทักษะและความชำนาญในการวาดภาพฉากและตัวละคร
- ไม่มีเทคนิคในการระบายสี
แนวทางการแก้ไขปัญหา
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการวาดภาพการระบายสีจากผู้รู้และทางอินเตอร์เน็ต
- ได้เรียนรู้เทคนิคการวาดภาพและแต่งเนื้อเรื่องนิทานให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
- ได้เรียนรู้เทคนิคการเล่านิทานให้สนุกสนานและผู้ฟังเกิดความสนใจ
- ได้เรียนรู้เทคนิคการทำหนังสือนิทานให้สวยงาม แข็งแรง คงทน และดึงดูดความสนใจของเด็ก
ความรู้สึกที่มีต่อการสร้างนิทาน
- เริ่มแรกรู้สึกกังวลกับการแต่งนิทานและทำหนังสือนิทานมาก
- หลังจากที่ได้ลงมือทำนิทานรู้สึกสนุกและภูมิใจที่ได้สร้างหนังสือนิทานเอง ได้มีการพัฒนาทักษะหลายๆ
ด้านในการสร้างนิทาน และสามารถสร้างนิทานออกมาได้ดี
ขั้นตอนในการสร้างนิทาน
- ศึกษาข้อมูลนิทานคุณธรรมจริยธรรม ทางอินเตอร์เน็ต
- ศึกษาข้อมูลพฤติกรรมเด็ก และกำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างนิทาน
- วางโครงเรื่องและตัวละคร
- เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำนิทาน
- วัดระยะของกระดาษและตัดกระดาษให้ได้ขนาดตามต้องการ
- วาดภาพฉากและตัวละคร
- ระบายสีให้สวยงาม
- เข้าเล่มนิทานและเคลือบด้วยสติ๊กเกอร์ใสเพื่อให้มีสภาพแข็งแรง คงทน ต่อการใช้งาน
- นำไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายและปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
ความประทับใจในการสร้างนิทาน
- รู้สึกภูมิใจที่ได้สร้างนิทานด้วยตนเอง
- เด็กๆ ชอบและให้ความสนใจนิทาน อยากฟังซ้ำอีก
- ได้เรียนรู้ทักษะและพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองในการสร้างนิทาน
ปัญหาและอุปสรรค
- ขาดทักษะและความชำนาญในการวาดภาพฉากและตัวละคร
- ไม่มีเทคนิคในการระบายสี
แนวทางการแก้ไขปัญหา
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการวาดภาพการระบายสีจากผู้รู้และทางอินเตอร์เน็ต