นิทาน นางหล่านางลุน
นิทานเรื่อง นางหล่านางลุน
นิทานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เรื่องนางหล่านางลุน
ข้อที่ 3 กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
นานมาแล้ว ณ หมู่บ้านกลางดง มีครอบครัวหนึ่ง ประกอบด้วย แม่ และลูกสาวสองคน ลูกสาวคนแรกชื่อ นางหล่า คนที่สองชื่อ นางลุน
วันหนึ่งแม่พาลูกสาวทั้งสองคนไปเก็บมะม่วงในป่าเพื่อนำมาขาย พอทั้งสามคนเดินไปถึงต้นมะม่วงก็ได้พบกับงูใหญ่ตัวหนึ่งซึ่งเฝ้าต้นมะม่วงอยู่ และงูใหญ่หวงมะม่วงมาก ด้วยความอยากได้มะม่วงไปขาย แม่ได้พูดกับงูใหญ่ว่า
แม่ ; "งูใหญ่จ๋าขอมะม่วงให้เราสามแม่ลูกเถอะนะ ท่านอยากได้อะไรตอบแทนเราจะให้"
งูใหญ่ ; "ข้าอยากได้ลูกสาวคนโตของเจ้า จะยกให้ข้าหรือไม่"
แม่ ; "ตกลงจ้า"
หลังจากที่ตกลงกันเรียบร้อยงูใหญ่ได้เขย่าต้นมะม่วงเพื่อให้ลูกมะม่วงหล่นลงมาให้สามแม่ลูกเก็บไปขาย
หลายวันต่อมา งูใหญ่ได้ไปทวงสัญญาถึงที่บ้าน
งูใหญ่ ; "คุณแม่ ข้ามาทวงสัญญาที่ท่านจะยกลูกสาวคนโตที่ชื่อนางหล่าให้ ตกลงจะว่าอย่างไร"
แม่ ; "นางหล่าว่าอย่างไรลูก" (แม่ถามนางหล่า)
นางหล่า ; "โอ้ย...ไม่เอาหรอกแม่ใครจะไปอยู่กับงูได้ หนูไม่เอา" (พูดจบนางหล่าก็วิ่งหนีไป)
เมื่องูใหญ่ได้ยินเช่นนั้นก็โมโหเป็นอย่างมาก จึงได้รัดแม่ไว้แล้วกำลังจะกัดแม่ให้ตาย ในขณะนั้นนางลุนได้เข้าไปห้ามเอาไว้เพื่อขอชีวิตแม่
นางลุน ; "หยุดเถอะท่านงูใหญ่ ถ้าพี่สาวของข้าไม่ยอม เปลี่ยนเป็นข้าแทนได้หรือไม่ ได้โปรดปล่อยแม่ของข้าด้วยเทอญ"
งูใหญ่ ; "เจ้าคิดดีแล้วรึ" (เสียงดุ)
นางลุน ; "ขอให้แม่ผู้เป็นที่รักของข้าปลอดภัย ข้ายอมทั้งนั้น" พร้อมทั้งร้องไห้กอดแม่ผู้เป็นที่รัก
เมื่องูใหญ่ได้ยินและเห็นดังนั้นจึงตกลงอยู่ร่วมกับนางลุนผู้เป็นน้องสาว
คืนนั้น นางลุนและงูใหญ่ได้เข้านอนด้วยกัน และแล้วงูใหญ่ก็ได้กลายร่างเป็นหนุ่มรูปงาม ทั้งยังรักนางลุนมากเพราะนางลุนเป็นคนกตัญญูต่อแม่ ยอมทำทุกอย่างเพื่อแม่ได้ แต่พอถึงกลางวันก็กลับร่างเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม
ผ่านไปหลายวันนางหล่าเกิดความสงสัยว่าทำไมนางลุนถึงอยู่กับงูใหญ่ได้โดยที่ไม่ถูกงูใหญ่กัดตาย จึงได้ไปแอบดูน้องสาวกับงูใหญ่ตอนกลางคืน จึงได้พบความจริงว่า "งูใหญ่กลายเป็นคน" และนางหล่าจึงมีความคิดว่าอยากได้เหมือนนางลุนบ้าง จึงมาบอกแม่ว่า
นางหล่า ; "แม่พรุ่งนี้เราไปเก็บมะม่วงอีกนะ ถ้าเจองูใหญ่อีกหนูจะยอมไปอยู่กับงูใหญ่เองจะไม่วิ่งหนีอีกแล้ว"
แม่ ; "แน่ใจนะลูก"
นางหล่า ; "จ้า"
วันต่อมาแม่และนางหล่าเดินทางเข้าไปเก็บมะม่วงในป่าและหวังว่าจะพบงูใหญ่อีกครั้ง เมื่อแม่และนางหล่าไปถึงต้นมะม่วงก็ได้พบงูใหญ่อยู่ใต้ต้นมะม่วงจริงๆ
แม่ ; "งูใหญ่ถ้าท่านช่วยเราเก็บมะม่วงข้าจะยกลูกสาวให้"
งูใหญ่ ; "ได้เลย เจ้าอย่าลืมสัญญานะ"
นางหล่า ; "ไม่ลืมหรอกค่ะ ขอให้ท่านช่วยเรา"
งูใหญ่จึงช่วยเขย่าต้นมะม่วงให้ แม่และนางหล่าได้มะม่วงจนพอใจจึงเดินทางกลับบ้าน
และในคืนนั้นงูใหญ่ได้ไปทวงสัญญากับนางหล่าถึงที่บ้าน
งูใหญ่ ; "ข้ามาทวงสัญญา เจ้าลืมหรือยัง"
นางหล่า ; "ยังจ้า ยินดีเสมอ" (นางหล่าคิดในใจว่างูใหญ่จะต้องกลายร่างเป็นคนอย่างแน่นอนจึงตกลงรับคำ)
เมื่อนางหล่าเข้านอนพร้อมกับงูใหญ่นางหล่าหารู้ไม่ว่างูใหญ่กำลังจะกินตัวเอง และแล้วกลางดึกคืนนี้งูใหญ่ได้รัดนางหล่าจนตายและกินเป็นอาหาร เนื่องด้วยนางหล่าเป็นคนไม่กตัญญูต่อมารดาและยังโลภมากอยากได้เหมือนน้องสาว เมื่ออิ่มท้องงูใหญ่ได้หนีเข้าป่าไป
สุดท้ายก็มีแต่นางลุนและสามี(ที่เคยเป็นงูใหญ่) ช่วยกันดูแลแม่ที่ชรามากแล้ว ทั้งสามคนอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตราบนานเท่านาน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่ทำให้บุคคลนั้นประสบแต่ความสุขความเจริญ และผู้ที่มีความโลภมากมักจะทำให้ลาภหาย
ข้อที่ 3 กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
นานมาแล้ว ณ หมู่บ้านกลางดง มีครอบครัวหนึ่ง ประกอบด้วย แม่ และลูกสาวสองคน ลูกสาวคนแรกชื่อ นางหล่า คนที่สองชื่อ นางลุน
วันหนึ่งแม่พาลูกสาวทั้งสองคนไปเก็บมะม่วงในป่าเพื่อนำมาขาย พอทั้งสามคนเดินไปถึงต้นมะม่วงก็ได้พบกับงูใหญ่ตัวหนึ่งซึ่งเฝ้าต้นมะม่วงอยู่ และงูใหญ่หวงมะม่วงมาก ด้วยความอยากได้มะม่วงไปขาย แม่ได้พูดกับงูใหญ่ว่า
แม่ ; "งูใหญ่จ๋าขอมะม่วงให้เราสามแม่ลูกเถอะนะ ท่านอยากได้อะไรตอบแทนเราจะให้"
งูใหญ่ ; "ข้าอยากได้ลูกสาวคนโตของเจ้า จะยกให้ข้าหรือไม่"
แม่ ; "ตกลงจ้า"
หลังจากที่ตกลงกันเรียบร้อยงูใหญ่ได้เขย่าต้นมะม่วงเพื่อให้ลูกมะม่วงหล่นลงมาให้สามแม่ลูกเก็บไปขาย
หลายวันต่อมา งูใหญ่ได้ไปทวงสัญญาถึงที่บ้าน
งูใหญ่ ; "คุณแม่ ข้ามาทวงสัญญาที่ท่านจะยกลูกสาวคนโตที่ชื่อนางหล่าให้ ตกลงจะว่าอย่างไร"
แม่ ; "นางหล่าว่าอย่างไรลูก" (แม่ถามนางหล่า)
นางหล่า ; "โอ้ย...ไม่เอาหรอกแม่ใครจะไปอยู่กับงูได้ หนูไม่เอา" (พูดจบนางหล่าก็วิ่งหนีไป)
เมื่องูใหญ่ได้ยินเช่นนั้นก็โมโหเป็นอย่างมาก จึงได้รัดแม่ไว้แล้วกำลังจะกัดแม่ให้ตาย ในขณะนั้นนางลุนได้เข้าไปห้ามเอาไว้เพื่อขอชีวิตแม่
นางลุน ; "หยุดเถอะท่านงูใหญ่ ถ้าพี่สาวของข้าไม่ยอม เปลี่ยนเป็นข้าแทนได้หรือไม่ ได้โปรดปล่อยแม่ของข้าด้วยเทอญ"
งูใหญ่ ; "เจ้าคิดดีแล้วรึ" (เสียงดุ)
นางลุน ; "ขอให้แม่ผู้เป็นที่รักของข้าปลอดภัย ข้ายอมทั้งนั้น" พร้อมทั้งร้องไห้กอดแม่ผู้เป็นที่รัก
เมื่องูใหญ่ได้ยินและเห็นดังนั้นจึงตกลงอยู่ร่วมกับนางลุนผู้เป็นน้องสาว
คืนนั้น นางลุนและงูใหญ่ได้เข้านอนด้วยกัน และแล้วงูใหญ่ก็ได้กลายร่างเป็นหนุ่มรูปงาม ทั้งยังรักนางลุนมากเพราะนางลุนเป็นคนกตัญญูต่อแม่ ยอมทำทุกอย่างเพื่อแม่ได้ แต่พอถึงกลางวันก็กลับร่างเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม
ผ่านไปหลายวันนางหล่าเกิดความสงสัยว่าทำไมนางลุนถึงอยู่กับงูใหญ่ได้โดยที่ไม่ถูกงูใหญ่กัดตาย จึงได้ไปแอบดูน้องสาวกับงูใหญ่ตอนกลางคืน จึงได้พบความจริงว่า "งูใหญ่กลายเป็นคน" และนางหล่าจึงมีความคิดว่าอยากได้เหมือนนางลุนบ้าง จึงมาบอกแม่ว่า
นางหล่า ; "แม่พรุ่งนี้เราไปเก็บมะม่วงอีกนะ ถ้าเจองูใหญ่อีกหนูจะยอมไปอยู่กับงูใหญ่เองจะไม่วิ่งหนีอีกแล้ว"
แม่ ; "แน่ใจนะลูก"
นางหล่า ; "จ้า"
วันต่อมาแม่และนางหล่าเดินทางเข้าไปเก็บมะม่วงในป่าและหวังว่าจะพบงูใหญ่อีกครั้ง เมื่อแม่และนางหล่าไปถึงต้นมะม่วงก็ได้พบงูใหญ่อยู่ใต้ต้นมะม่วงจริงๆ
แม่ ; "งูใหญ่ถ้าท่านช่วยเราเก็บมะม่วงข้าจะยกลูกสาวให้"
งูใหญ่ ; "ได้เลย เจ้าอย่าลืมสัญญานะ"
นางหล่า ; "ไม่ลืมหรอกค่ะ ขอให้ท่านช่วยเรา"
งูใหญ่จึงช่วยเขย่าต้นมะม่วงให้ แม่และนางหล่าได้มะม่วงจนพอใจจึงเดินทางกลับบ้าน
และในคืนนั้นงูใหญ่ได้ไปทวงสัญญากับนางหล่าถึงที่บ้าน
งูใหญ่ ; "ข้ามาทวงสัญญา เจ้าลืมหรือยัง"
นางหล่า ; "ยังจ้า ยินดีเสมอ" (นางหล่าคิดในใจว่างูใหญ่จะต้องกลายร่างเป็นคนอย่างแน่นอนจึงตกลงรับคำ)
เมื่อนางหล่าเข้านอนพร้อมกับงูใหญ่นางหล่าหารู้ไม่ว่างูใหญ่กำลังจะกินตัวเอง และแล้วกลางดึกคืนนี้งูใหญ่ได้รัดนางหล่าจนตายและกินเป็นอาหาร เนื่องด้วยนางหล่าเป็นคนไม่กตัญญูต่อมารดาและยังโลภมากอยากได้เหมือนน้องสาว เมื่ออิ่มท้องงูใหญ่ได้หนีเข้าป่าไป
สุดท้ายก็มีแต่นางลุนและสามี(ที่เคยเป็นงูใหญ่) ช่วยกันดูแลแม่ที่ชรามากแล้ว ทั้งสามคนอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตราบนานเท่านาน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่ทำให้บุคคลนั้นประสบแต่ความสุขความเจริญ และผู้ที่มีความโลภมากมักจะทำให้ลาภหาย
บันทึกการสะท้อนบทเรียนที่ได้จากการพัฒนานิทาน
1. สิ่งที่ได้จากการสร้างนิทาน
สิ่งที่เรียนรู้จากการสร้างนิทาน. ตอบ เรียนรู้ว่าการทำนิทานจะต้องมีจินตนาการเป็นอย่างมาก ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และฝีมือในการวาดภาพ ระบายสี เข้าเล่มให้สามารถเปิดได้ คงทนมั่นคง นิทานต้องเป็นนิทานเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ผู้ทำนิทานจะต้องมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก
2. ความรู้สึกที่มีต่อการสร้างนิทาน ตอบ ตื่นเต้นและท้าทายในการทำนิทานในครั้งนี้ว่าเราจะสามารถทำได้หรือไม่และหน้าตาจะออกมาอย่างไรเพราะไม่เคยทำนิทานมาก่อนในชีวิต รู้สึกมีความสุข ภูมิใจที่ได้สร้างสรรค์ผลงานของตนเองแลสามารถสำเร็จได้
3. ขั้นตอนในการสร้างนิทาน ตอบ 1. วิเคราห์ SWOT เพื่อมาทำแผนพัฒนาตนเอง 2. ได้รับโจทย์ให้สร้างนิทานเกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการ 3. หานิทานพื้นบ้านจากหัวหน้าศูนย์ 4. เรียบเรียงเรื่องราวนิทานให้กระชับ นำเสนออาจารย์ 5. ออกแบบรูปเล่มนิทาน เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำนิทาน 6. วาดภาพประกอบ ระบายสี เข้าเล่ม 7. ตรวจสอบความสวยงามของรูปเล่ม 8. นำไปทดลองใช้ 9. นำมาปรับปรุง 10. นำไปใช้จริงและนำมาสรุปผล
4. ความประทับใจในการสร้างนิทาน ตอบ ประทับใจที่มีคนชมว่านิทานน่าติดตาม มีเพื่อนว่าวาดภาพประกอบสวยงาม ประทับใจที่สามารถทำนิทานจนเสร็จ ประทับใจที่เด็กๆชอบ
5. ปัญหาและอุปสรรคและแนวทางแก้ไข ตอบ ปัญหา ระบายสีไม่เก่ง วิธีแก้คือ ศึกษาจากเพื่อนๆที่ระบายสีสวยๆแล้วนำเคร็ดลับไปใช้ ปัญหา ที่แรกใช้ลังนมมาทำเป็นรูปเล่มทำให้เล่มใหญ่เกิน วิธีแก้คือ เปลี่ยนมาใช้แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดแทน
สิ่งที่เรียนรู้จากการสร้างนิทาน. ตอบ เรียนรู้ว่าการทำนิทานจะต้องมีจินตนาการเป็นอย่างมาก ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และฝีมือในการวาดภาพ ระบายสี เข้าเล่มให้สามารถเปิดได้ คงทนมั่นคง นิทานต้องเป็นนิทานเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ผู้ทำนิทานจะต้องมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก
2. ความรู้สึกที่มีต่อการสร้างนิทาน ตอบ ตื่นเต้นและท้าทายในการทำนิทานในครั้งนี้ว่าเราจะสามารถทำได้หรือไม่และหน้าตาจะออกมาอย่างไรเพราะไม่เคยทำนิทานมาก่อนในชีวิต รู้สึกมีความสุข ภูมิใจที่ได้สร้างสรรค์ผลงานของตนเองแลสามารถสำเร็จได้
3. ขั้นตอนในการสร้างนิทาน ตอบ 1. วิเคราห์ SWOT เพื่อมาทำแผนพัฒนาตนเอง 2. ได้รับโจทย์ให้สร้างนิทานเกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการ 3. หานิทานพื้นบ้านจากหัวหน้าศูนย์ 4. เรียบเรียงเรื่องราวนิทานให้กระชับ นำเสนออาจารย์ 5. ออกแบบรูปเล่มนิทาน เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำนิทาน 6. วาดภาพประกอบ ระบายสี เข้าเล่ม 7. ตรวจสอบความสวยงามของรูปเล่ม 8. นำไปทดลองใช้ 9. นำมาปรับปรุง 10. นำไปใช้จริงและนำมาสรุปผล
4. ความประทับใจในการสร้างนิทาน ตอบ ประทับใจที่มีคนชมว่านิทานน่าติดตาม มีเพื่อนว่าวาดภาพประกอบสวยงาม ประทับใจที่สามารถทำนิทานจนเสร็จ ประทับใจที่เด็กๆชอบ
5. ปัญหาและอุปสรรคและแนวทางแก้ไข ตอบ ปัญหา ระบายสีไม่เก่ง วิธีแก้คือ ศึกษาจากเพื่อนๆที่ระบายสีสวยๆแล้วนำเคร็ดลับไปใช้ ปัญหา ที่แรกใช้ลังนมมาทำเป็นรูปเล่มทำให้เล่มใหญ่เกิน วิธีแก้คือ เปลี่ยนมาใช้แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดแทน