บันทึกสะท้อนการเล่านิทาน
เทคนิคการเล่านิทาน:ทั้งนิทานและสื่อสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ดี จะเห็นว่าแม้ว่าจะมีสิ่งรบกวน เช่น มีหมาเดินมาข้างๆ เด็กก็ยังคงสนใจนิทานจนจบเรื่อง บุคลิกท่านั่งของครูมีความเหมาะสมดีตามหลักบุคลิกภาพครูปฐมวัย
ปัญหาที่พบ: บางครั้งเด็กอาจจะไม่สนใจในการเล่านิทานของครู นิทานอาจจะยาวไป
วิธีการแก้ไข : เพิ่มเทคนิคการเล่านิทานให้น่าสนใจมากขึ้น ใช้คำถามกระตุ้นการมีส่วนร่วมของเด็กเป็นระยะ นิทานควรปรับให้สั้น กระชับ และเลือกใช้เป็นคำคล้องจอง
ปัญหาที่พบ: บางครั้งเด็กอาจจะไม่สนใจในการเล่านิทานของครู นิทานอาจจะยาวไป
วิธีการแก้ไข : เพิ่มเทคนิคการเล่านิทานให้น่าสนใจมากขึ้น ใช้คำถามกระตุ้นการมีส่วนร่วมของเด็กเป็นระยะ นิทานควรปรับให้สั้น กระชับ และเลือกใช้เป็นคำคล้องจอง
ถอดบทเรียนจากการเล่านิทานครั้งที่1
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่านิทานที่แต่งเอง ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คือในการเล่านิทานของครูนั้น ต้องมีเทคนิควิธีการเล่าต่างๆที่นำมาจัดเพื่อให้การเล่ามีความน่าสนใจมากขึ้น ครูควรต้องฝึกฝนการเล่าจนเกิดเป็นทักษะและความสามารถเฉพาะตัว และสามารถเล่านิทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการเล่าปากเปล่า และการเล่านิทานประกอบอุปกรณ์ เช่น ใช้หนังสือนิทาน หุ่นมือ หุ่นถุงกระดาษ หุ่นนิ้วมือ หรือวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อเร้าความสนใจให้เด็กสนใจ และตื่นตาไปกับการเล่านิทานได้เป็นอย่างดี ครูควรทำความเข้าใจในนิทานที่เล่าและจดจำเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดีก่อนการเล่า ใช้เทคนิคประกอบการเล่าด้วยใช้น้ำเสียง ท่าทาง ใช้สีหน้าและแววตา ตลอดจนใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบการเล่า รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น บรรยากาศที่เงียบสงบ เด็กไม่อยู่ในภาวะหิว ร้อนหรือง่วงนอน สถานที่สบาย สะอาด และความยาวของนิทานเหมาะสมกับช่วงความสนใจและวัยของเด็ก และมีการประเมินผลหลังการเล่าเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงทุกครั้ง โดยการจัดกิจกรรมเสริมจากนิทานที่เล่าให้เด็กมีส่วนร่วมให้มากที่สุดระหว่างการเล่านิทานจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพ ระบายสีเกี่ยวกับตัวละครที่เด็กชื่นชอบในนิทานในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมกับเด็กจากตัวละครที่เป็นแบบอย่างในนิทานจากที่เล่าในชั้นเรียนนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กได้ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน