บันทึกการสะท้อนการเล่านิทาน
เทคนิคการเล่านิทาน : ทั้งนิทานและสื่อสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ดี จะเห็นว่าแม้ว่าจะมีสิ่งรบกวน เช่น มีหมาเดินมาข้างๆ เด็กเด็กก็ยังคงสนใจนิทานจนจบเรื่อง บุคลิกท่านั่งของครูมีความเหมาะสมดีตามหลักบุคลิกภาพครูปฐมวัย
ปัญหาที่พบ : บางครั้งตอนเล่านิทานมัวแต่ให้ความสนใจกับนิทาน ไม่ได้ดูว่าเด็กตามทันหรือไม่ เด็กไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นระหว่างเล่านิทาน เป็นการฟังครูอย่างเดียว
วิธีการแก้ปัญหา : เพิ่มเทคนิคการเล่านิทานให้น่าสนใจมากขึ้น ใช้คำถามกระตุ้นการมีส่วนร่วมของเด็กเป็นระยะๆ นิทานควรปรับให้สั้น กระชับ และ เลือกใช้เป็นคำคล้องจอง
ปัญหาที่พบ : บางครั้งตอนเล่านิทานมัวแต่ให้ความสนใจกับนิทาน ไม่ได้ดูว่าเด็กตามทันหรือไม่ เด็กไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นระหว่างเล่านิทาน เป็นการฟังครูอย่างเดียว
วิธีการแก้ปัญหา : เพิ่มเทคนิคการเล่านิทานให้น่าสนใจมากขึ้น ใช้คำถามกระตุ้นการมีส่วนร่วมของเด็กเป็นระยะๆ นิทานควรปรับให้สั้น กระชับ และ เลือกใช้เป็นคำคล้องจอง
ถอดบทเรียนจากรการเล่านิทานคุณธรรม จริยธรรม
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่านิทานที่แต่งเอง ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คือ เทคนิคการเล่านิทานคุณธรรม จริยธรรม ควรมีกิจกรรมเสริม เช่น การตั้งคำถามกระตุ้นความคิดของเด็กเป็นระยะๆ ถามถึงสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ให้เด็กแยกแยะความถูก ความผิด ความชั่ว ความดี เสริมจากนิทานที่เล่า ควรใหเด็กมีส่วนร่วมให้มากที่สุดระหว่างการเล่านิทาน เช่น การช่วยออกเสียงสัตว์ร้อง การช่วยย้ำคำสุดท้ายของเรื่อง การจัดให้มีการแสดงบทบาทสมมุติ การทำกิจกรรมศิลปะวาดภาพ ระบายสี เกี่ยวกับตัวละครที่เลือกว่าเป็นคนดี การเล่านิทานต่อเรื่อง จากที่เล่าในชั้นเรียน กิจกรรมเสริมหรือต่อยอดเหล่านี้ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในห้องเรียน และ ที่บ้าน โดยอาจเป็นการบ้านที่ให้เด็กทำต่อที่บ้าน เพื่อสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง