VDO การเล่านิทาน ครั้งที่ 2
บันทึกการสะท้อนการเล่านิทาน
เทคนิคการเล่านิทาน : ทั้งในนิทานและสื่อสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ดี จะเห็นว่าแม้จะมีสิ่งรบกวน เช่นมียุ่งหรือแมลงมาตอมข้างๆ เด็กก็ยังคงสนใจฟังนิทานจนจบเรื่อง บุคลิกภาพท่านั่งของครูมีความเหมาะสมดีตามหลักบุคลิกภาพของครูปฐมวัย
ปัญหาที่พบ : บางครั้งตอนเล่านิทานครูมัวแต่สนใจนิทานไม่ได้ดูว่าเด็กตามทันหรือไม่ เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นไม่มากระหว่างเล่านิทาน ส่วนใหญ่เป็นการฟังอย่างเดียว
วิธีการแก้ปัญหา : เพิ่มเทคนิคการเล่านิทานให้น่าสนใจมากขึ้น ใช้คำถามกระตุ้นเพื่อฝึกทักษะการคิด นิทานควรปรับให้สั้น กระชับ
ปัญหาที่พบ : บางครั้งตอนเล่านิทานครูมัวแต่สนใจนิทานไม่ได้ดูว่าเด็กตามทันหรือไม่ เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นไม่มากระหว่างเล่านิทาน ส่วนใหญ่เป็นการฟังอย่างเดียว
วิธีการแก้ปัญหา : เพิ่มเทคนิคการเล่านิทานให้น่าสนใจมากขึ้น ใช้คำถามกระตุ้นเพื่อฝึกทักษะการคิด นิทานควรปรับให้สั้น กระชับ
ถอดบทเรียนหลังจากการเล่านิทานครั้งที่ 2
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่านิทานที่แต่งเอง ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คือเทคนิคการเล่านิทานคุณธรรม จริยธรรมควรมีกิจกรรมเสริม เช่นการตั้งคำถามกระตุ้นความคิดของเด็กเป็นระยะๆ ถามถึงสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ให้เด็กแยกแยะความถูก ความผิด ความชั่ว ความดี เสริมจากนิทานที่เล่า ควรให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุดระหว่างการเล่านิทาน เช่นการช่วยออกเสียง สัตว์ร้อง การช่วยย้ำคำสุดท้ายของเรื่อง การจัดให้มีการแสดงบทบาทสมมติ การทำกิจกรรมศิลปะวาดภาพ ระบายสี เกี่ยวกับตัวละครที่เลือกว่าเป็นคนดี การเล่านิทานต่อเรื่อง จากที่เล่าในชั้นเรียน กิจกรรมเสริมหรือต่อยอดเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในห้องเรียนและที่บ้าน โดยอาจเป็นการบ้านที่ให้เด็กต่อที่บ้าน เพื่อสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง